logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี

ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี

โดย :
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
เมื่อ :
วันพุธ, 22 เมษายน 2563
Hits
10922

          จากที่ทุกคนเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะของประเทศญี่ปุ่น ที่เกิดเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2554 หรือการระเบิดของเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในประเทศยูเครน ปีค.ศ. 1986 และแม้กระทั่งข่าวอุบัติเหตุจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนเก็บของเก่า ที่ไปสัมผัสชิ้นส่วนสารกัมมันตรังสี โคบอลต์-60 ที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้สร้างความตระหนกตกใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมากในช่วงเวลานั้น แสดงให้เห็นว่าธาตุกัมมันตรังสีนั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวเราที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อที่จะสามารถเข้าใจถึงประโยชน์, โทษ และการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก

11221 1

ภาพห้องทดลองแสดงการทดสอบธาตุกัมมันตรังสี
ที่มา https://pixabay.com , Bokskapet

ประวัติของธาตุกัมมันตรังสี

          ธาตุกัมมันตรังสี (Radioactive Element) คือสสารชนิดหนึ่งที่สามารถปล่อยพลังงานรังสี เช่น รังสีแอลฟา (α) , รังสีบีต้า (β)  และรังสีแกมมา (γ)  มาออกมาจากกระบวนการสลายตัวของธาตุหรือไอโซโทป ซึ่งรังสีที่แผ่ออกมานั้นเป็นพลังงานชนิดหนึ่งเรียกว่ากัมมันตภาพรังสีนั่นเอง และการเปลี่ยนแผ่รังสีนี้สามารถเปลี่ยนธาตุดังกล่าวเป็นธาตุอื่นได้ด้วย

          โดยธาตุกัมมันตรังสีนั้นมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ อองตวน อองรี เบ็กเคอเรล (Antoine Henri Becquerel) ในปีค.ศ. 1896 ซึ่งเป็นการค้นพบอย่างบังเอิญเนื่องจากพบฟิล์มถ่ายรูปที่เก็บไว้กับธาตุยูเรเนียมและนำมาห่อด้วยกระดาษสีดำ มีคุณลักษณะเปลี่ยนไปกลายเป็นมีลักษณะเดียวกันกับฟิล์มรับแสง ดังนั้นเบ็กเคอเรลจึงได้จำลองการทดลองโดยนำธาตุยูเรเนียมชนิดอื่นมาทดลองก็ได้ผลเช่นเดียวกัน จึงสามารถสรุปได้ว่ามีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม

           ต่อมาปีแอร์ คูรี และ มารี คูรี (Pierre Curie and Marie Curie) ได้มีการค้นพบเพิ่มเติมว่าไม่เพียงแค่ธาตุยูเรเนียมเท่านั้น ธาตุชนิดอื่นก็สามารถแผ่รังสีได้เช่นเดียวกัน และยังพบอีกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นมีอานุภาพสูงและสามารถทะลุทะลวงได้ด้วย เช่น รังสีแกมมาสามารถทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายหรือ  สามารถทำลายกระดูกและทำให้ผิวหนังแห้งได้ โดยผลกระทบของกัมมันตรังสีกับมนุษย์นั้นนอกจากปริมาณการได้รับรังสีปริมาณมากหรือปริมาณน้อยแล้วนั้น อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและ สุขภาพของผู้ที่ได้รับยังเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้แต่ละคนได้รับปริมาณรังสีไม่เท่ากัน โดยอวัยวะที่อ่อนไหวมากที่สุดคือ ระบบสืบพันธุ์ และระบบสร้างเม็ดเลือดของร่างกาย โดยอาการของผู้ได้รับรังสีจากสารกัมมันตรังสีนั้นเริ่มจากมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผมร่วง เบื่ออาหาร ผมร่วงเปลี่ยนแปลงยีนในพันธุกรรม ไปจนถึงผิวหนังเป็นพุพอง และเสียชีวิตในที่สุด

ประโยชน์ของสารกัมมันตรังสี

          ถึงแม้ว่าสารกัมมันตรังสีจะมีความอันตรายมากแต่ปัจจุบันหลายประเทศก็ได้นำสารกัมมันตภาพรังสีมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่นกัน ทั้งด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ธรณีวิทยา และด้านวิทยาศาสตร์ เช่น

  • เป็นพลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

  • นำมาใช้ในการยืดอายุอาหารที่บริโภค

  • การฉายรังสีเอกซ์เพื่อตรวจความผิดปกติในร่างกาย

  • นำมาฆ่าเชื้อโรคในอุปกรณ์ทางการแพทย์

  • บำบัดการรักษาสำหรับคนที่เป็นโรคมะเร็ง

  • ตรวจอายุวัตถุโบราณเพื่อศึกษาทางด้านโบราณคดี

  • นำมาทดสอบกับชิ้นส่วนโลหะเพื่อตรวจสอบรอยตำหนิรอยร้าว หรือรอยรั่ว

  • ใช้รังสีฉายเพื่อสร้างสีสันให้กับอัญมณี

 

11221 2

ภาพการสวมชุดป้องกันสารกัมมันตรังสี
ที่มา https://pixabay.com , MetsikGarden

การป้องกันเมื่อมีการรั่วไหลของธาตุกัมมันตรังสี

          เนื่องจากธาตุกัมมันตรังสีสามารถกระจายตัวไปได้ทั้งทางอากาศโดยการหายใจฝุ่นละอองที่มีรังสีเข้าไปหรือ ปนเปื้อนไปกับทางน้ำไหลลงแม่น้ำลำคลอง และไหลลงไปทางทะเลในที่สุด ดังนั้นการป้องกันสารกัมมันตรังสีในกรณีที่มีการรั่วไหลสามารถทำได้โดยการอยู่แต่ในอาคารปิดหน้าต่างและประตูให้สนิท ดื่มน้ำสะอาดที่เก็บไว้ในภาชนะปิดมิดชิด กินไอโอดีนเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องออกนอกอาคารหรือเข้าไปในบริเวณที่มีสารกัมมันตภาพรังสีจำเป็นจะต้องใส่ผ้าปิดจมูก สวมหน้ากาก และสวมชุดป้องกัน และในกรณีที่มีฝนตกควรหลีกเลี่ยงเข้าไปอยู่ในอาคารทันทีดังนั้นจะเห็นว่าสารกัมมันตรังสีมีทั้งประโยชน์และโทษ เราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เป็นอย่างดีเกี่ยวกับวิธีการใช้ที่ปลอดภัย รวมทั้งรู้จักโทษและการป้องกันสารกัมมันตรังสี เพื่อสามารถนำสารกัมมันตรังสีไปประยุกต์ใช้ให้เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด

แหล่งที่มา

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ.(2550) อยู่ปลอดภัยกับอะตอม. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 .จาก http://www.oap.go.th/images/documents/resources/media-library/publications/stay_safe_with_the_atom1.pdf

ดร. ไบรอัน แนพพ์. ยูเรเนียม และ ธาตุกัมมันตรังสีอื่น ๆ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร. นานมีบุ๊คส์.

คณะอนุกรรมการความปลอดภัยทางรังสี. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางรังสี มหาวิทยาลัยมหิดล. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร. ทองสุขพริ้นท์.

มาริสา คุณธนวงศ์. รังสีคืออะไร มีกี่ชนิด วัดได้อย่างไร มีผลกระทบต่อสุขภาพมากน้อยแค่ไหน. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2562 .จาก https://www.mtec.or.th/post-knowledges/3923/

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ธาตุกัมมันตรังสี, กัมมันตภาพรังสี, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, รังสี, ผลิตไฟฟ้า, รังสีแอลฟา, รังสีบีตา, รังสีแกมมา, กำเนิดธาตุกัมมันตรังสี, ปีแอร์ คูรี, มารี คูรี, ธาตุยูเรเนียม
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 11 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11221 ต้นกำเนิดธาตุกัมมันตรังสี /article-chemistry/item/11221-2019-12-19-04-50-43
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำลด
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำ...
Hits ฮิต (14501)
ให้คะแนน
กระทรวงสาธารณสุขแนะหลังน้ำลด ควรรีบทำความสะอาดบ้านภายใน 24 - 48 ชั่วโมง กำจัดเชื้อรา เสื้อผ้าที่จมน ...
ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด
ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด
Hits ฮิต (18841)
ให้คะแนน
ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด โลกเของเรามียุงอยู่ประมาณ 3,000 ชนิด เชื่อกันว่าโลกของเรามียุงมาตั้งแต่ 30 ล้ ...
เมื่อไหร่? คนเราเริ่มหลงลืม เรื่องง่ายๆก...
Hits ฮิต (14229)
ให้คะแนน
 

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)