logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • ชั้นบรรยากาศของโลก มีหลายชั้นกว่าที่เราคิด

ชั้นบรรยากาศของโลก มีหลายชั้นกว่าที่เราคิด

โดย :
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
เมื่อ :
วันพุธ, 01 กรกฎาคม 2563
Hits
40317

         หลายคนอาจสงสัยว่าเมื่อมองไปบนท้องฟ้านั้นนอกจากเมฆแล้วยังมีสิ่งใดอยู่บนท้องฟ้าและขนาดของท้องฟ้ามีความสูงขึ้นไปเท่าไหร่ อากาศที่เราหายใจนั้นประกอบไปด้วยแก๊สอะไรบ้าง รวมทั้งชั้นบรรยากาศนั้นมีทั้งหมดกี่ชั้น และสามารถปกป้องเราจากรังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวี (UV)  ได้อย่างไร ซึ่งสามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้

11337 1

ภาพที่ 1 ปีกเครื่องบินที่กำลังบินอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
ที่มา https://pixabay.com , Free-Photos

          ชั้นบรรยากาศ (Layers of atmosphere) ของโลกนั้นมีประโยชน์มากมายมหาศาลนอกจากจะช่วยปรับอุณหภูมิบนโลกให้เหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตแล้วยังสามารถให้สิ่งมีชีวิตสามารถหายใจและดำรงชีวิตอยู่ได้และรวมทั้งยังเป็นตัวห่อหุ้มช่วยกันรังสีและอนุภาคต่าง ๆ ที่มาจากแสงอาทิตย์และสิ่งต่าง ๆ นอกโลกได้เช่น รังสี UV หรืออุกกาบาต

11337 edit

ภาพที่ 2 ภาพแสดงการแบ่งชั้นบรรยากาศ
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Atmosphere_layers.jpg , cied.ucar.edu ete.cet.edu ,eo.ucar.edu

การแบ่งชั้นบรรยากาศ

          ชั้นบรรยากาศนั้นมีหลายชั้นและมีสภาวะอากาศแต่ละชั้นที่แตกต่างกัน โดยการแบ่งชั้นบรรยากาศนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ตัวแปรใดเป็นเกณฑ์ แต่สำหรับการศึกษาทางด้านอุตุนิยมวิทยานั้น จะแบ่งชั้นบรรยากาศแต่ละชั้นโดยใช้คุณสมบัติของแก๊สและอุณหภูมิเป็นตัวแปรสำคัญในการแบ่งชั้นโดยชั้นบรรยากาศสามารถแบ่งออกเป็นจำนวน 5 ชั้นมีรายละเอียดดังนี้

          1. ชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) มีระดับความสูง 0-10 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศชั้นแรกที่ปกคลุมผิวโลกประกอบไปด้วยแก๊สหลายชนิดโดยหลายคนเข้าใจว่าส่วนประกอบหลักคือแก๊สออกซิเจน แต่ในความจริงมีปริมาณแก๊สไนโตรเจนถึงร้อยละ 78 ส่วนแก๊สออกซิเจนกลับเป็นอันดับสองร้อยละ 21 และที่เหลือเป็นแก๊สอาร์กอนปริมาณร้อยละ 0.93 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.03 และแก๊สชนิดอื่น ๆ อีกประมาณร้อยละ 0.04 นอกจากนี้ยังมีสัดส่วนของไอน้ำและความร้อนในระดับสูงจึงส่งให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ความชื้น ฝน พายุ ความกดอากาศ และเมฆหมอกเป็นต้น

          2. ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) มีระดับความสูง 10-50 กิโลเมตร อุณหภูมิชั้นนี้ต่ำกว่าชั้นโทรโพสเฟียร์อย่างเห็นได้ชัดคือประมาณ -60 ถึง 10 องศาเซลเซียส ในชั้นนี้อากาศจะมีการเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และไม่มีเมฆในชั้นนี้แล้วมีแต่ไอน้ำเพียงเล็กน้อยซึ่งชั้นนี้มีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการที่จะให้เครื่องบินสามารถบินได้

          3. ชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) มีระดับความสูง 50-80 กิโลเมตร ชั้นนี้มีส่วนช่วยดูดซับรังสี UV ที่เล็ดรอดลงมาจากบรรยากาศชั้นบน ปริมาณอากาศในชั้นนี้เบาบางมากและอุณหภูมิต่ำไปถึง-120องศาเซลเซียส

          4. ชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) มีระดับความสูง 80-700 กิโลเมตร เป็นชั้นที่มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นชั้นที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ไม่ให้ตกไปสู่พื้นผิวโลกส่งผลให้อุณหภูมิมีผลตรงกันข้ามกับชั้นมีโซสเฟียร์โดยอุณหภูมิในชั้นนี้กลับสูงถึง 2,000 องศาเซลเซียสและในชั้นนี้เมื่ออนุภาคปกติกระทบกับรังสี UV จะทำให้เกิดการแตกตัวของอนุภาคเป็นประจุไฟฟ้าที่มีชื่อเรียกว่าประจุไฟฟ้าอิออนซึ่งทำให้เกิดแสงออโรรา (Aurora) หรือที่เราเรียกกันว่าแสงเหนือ (Northern Light) หรือแสงใต้ (Southern Light) นั่นเอง นอกจากนี้ประจุไฟฟ้าอิออนยังมีประโยชน์คือสามารถเป็นตัวกลางให้คลื่นวิทยุสามารถสื่อสารในปัจจุบัน เนื่องจากตัวของมันเองมีคุณสมบัติที่สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้

          5.ชั้นเอ็กโซสเฟียร์ (Exosphere) มีระดับความสูง 700-800 กิโลเมตร สำหรับชั้นสุดท้ายนี้ มีแก๊สฮีเลียมแหละแก๊สไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ในชั้นนี้มีอากาศที่เบาบางมากและไม่มีขอบเขตชัดเจนระหว่างชั้นบรรยากาศและอวกาศ

11337 2

ภาพแสงออโรรา
ที่มา https://pixabay.com , Wikilmages


          จะเห็นได้ว่าชั้นบรรยากาศนั้นมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามในภาวะปัจจุบันมนุษย์ได้ทำลายชั้นบรรยากาศโดยการปล่อยก๊าซพิษ สู่ชั้นบรรยากาศในหลาย ๆ ทาง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และการคมนาคมขนส่ง ส่งผลให้อากาศเป็นมลพิษและเกิดฝุ่น PM 2.5 ส่งผลเสียต่อระบบการหายใจ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่หลายภาคส่วนจะมาช่วยกันดูแลสภาวะอากาศให้ดียิ่งขึ้น

แหล่งที่มา

Tim Sharp. (2017, 13 October). Earth's Atmosphere: Composition, Climate & Weather. Retrieved February 2, 2020, from https://www.space.com/17683-earth-atmosphere.html

Elizabeth Borngraber. The layers of earth’s atmosphere. (1st ed). New York. The Rosen.

Holly Zell. (2017, 7 August). Earth's Atmospheric Layers. Retrieved January1, 2020, From https://www.nasa.gov/mission_pages/sunearth/science/atmosphere-layers2.html

Catherine Chambers. Stickmen's Guide to Earth's Atmosphere in Layers. (1st ed). Minnesota. Lerner.

National weather service. Layers of the Atmosphere. Retrieved February 1, 2020, From https://www.weather.gov/jetstream/layers

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ชั้นบรรยากาศ, การแบ่งชั้นบรรยากาศ, ชั้นบรรยากาศของโลก, ความสูงของท้องฟ้า
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 02 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณิดา อภิสิทธิ์วงศา
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11337 ชั้นบรรยากาศของโลก มีหลายชั้นกว่าที่เราคิด /article-earthscience/item/11337-2020-03-06-07-53-54
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์
การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักก...
Hits ฮิต (9491)
ให้คะแนน
หากเราย้อนกลับไปในฤดูร้อนของปีค.ศ. 1997 ในขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมจากประเทศฝรั่งเศสและทีม ...
บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก
บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก
Hits ฮิต (28454)
ให้คะแนน
บูมเมอแรง (Boomerang) บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็กที่นิยมเล่นกันทั่วโลก หรือในประเทศไทยที ...
Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแต่วัยเรียนจนวัยทำงาน
Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแ...
Hits ฮิต (13399)
ให้คะแนน
ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยนั่งคิดเล่น ๆ ว่าคนเราจะสามารถพัฒนาตัวเองทุกวันได้อย่างไร เพราะเรามักจะได้ยินแ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)