logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอน ตอนที่ 14 จอห์น นาเปียร์

รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอน ตอนที่ 14 จอห์น นาเปียร์

โดย :
เมขลิน อมรรัตน์
เมื่อ :
วันพุธ, 25 มีนาคม 2563
Hits
8311

          มาสนุกกันต่อกับบทความซีรี่ส์ รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ครั้งนี้มาถึงตอนที่ 14 กันแล้ว เรากำลังจะกล่าวถึงนักคณิตศาสตร์ที่บทบาทสำคัญเกี่ยวกับวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ จะเป็นใครนั้นมาติดตามกันได้เลย

         เหล่านักคณิตศาสตร์ทั้งหลายล้วนตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และนักคณิตศาสตร์เหล่านี้ยังอุทิศตนค้นคว้าและประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ เพื่อลดภาระการคำนวณของผู้ที่ปฏิบัติงานให้ได้มีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อให้ใช้มากยิ่งขึ้น

11209

ภาพ จอห์น เนเปียร์ (John Napier)
ที่มา https://www.geograph.org.uk/photo/2009649

ประวัติทางด้านครอบครัว

          จอห์น เนเปียร์ (John Napier) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวสกอตแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1550 ที่เมืองอีดินเบิร์ก ประเทศสกอตแลนด์ พ่อของจอห์น เนเปียร์คือ เซอร์อาร์ชิบัลด์ (Sir Archibald Napier) และแม่ของเขาคือจาเน็ต (Janet Bothwell) ซึ่งพ่อของเขาเป็นเจ้าของปราสาทเมอร์ซิสตัน (Merchiston castle)

การศึกษาของจอห์น เนเปียร์

          ในปี ค.ศ.  1563 จอห์น เนเปียร์ได้เข้าเรียนที่เซนต์ซัลเวเตอร์คอลเลจ, มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ ซึ่งเป็นข้อมูลประวัติการศึกษาในช่วงแรกเท่านั้น หลังจากนั้นเนเปียร์ได้เดินทางไปศึกษาต่อในโซนประเทศยุโรป แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในช่วงที่เนเปียร์เข้ารับการศึกษาต่อที่แห่งนี้ แต่มีข้อมูลปรากฏแจ้งว่าเขาอาจจะเรียนอยู่ที่แห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศอิตาลี

           เนเปียร์มีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินของตนเอง และในขณะเดียวกันเขาก็ยังมีความศรัทธาในศาสนา ไสยศาสตร์และการเล่นแร่แปรธาตุ แม้ว่าการศึกษาด้านคณิตศาสตร์จะเป็นเพียงงานอดิเรกของเนเปียร์ และด้วยความรู้ความสามารถที่เขามีจึงทำให้เขากลายเป็นนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และมีผลงานอาทิ เช่น ลอการิทึม, Napier’s analogies, Napier’s bones

          จอห์น เนเปียร์ได้สร้างตารางการคูณบนชุดแท่งต่าง ๆ และในแต่ละด้านได้บรรจุตัวเลขที่มีสัมพันธ์กันในลักษณะความก้าวหน้าเชิงคณิตศาสตร์ ความสามารถของตารางการคูณนี้คือการหาค่ารากที่สอง รากที่สาม และยังสามารถคูณหรือหารตัวเลขจำนวนมาก ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและยังใช้เวลารวดเร็วในการคำนวณอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถแปลงปัญหาของการคูณที่สลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เครื่องมือนี้มีชื่อเรียกว่า สไลด์รูล (Slide rule) เครื่องมือนี้มีหน้าที่หาค่าการคูณตัวเลข และสไลด์รูลยังเป้นต้นกำเนิดของ แอนาล็อกคอมพิวเตอร์ด้วย ตารางการคูณบนชุดแท่งของเนเปียร์เป็นที่นิยมและแพร่หลายทั่วยุโรป ทำให้ทุกคนรู้จักจอห์น เนเปียร์ในฐานะผู้ประดิษฐ์ลอการิทึม

ผลงานสำคัญของจอห์น เนเปียร์

          ลอการิทึม จอห์น เนเปียร์ได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้การคำนวณง่ายขึ้นโดยเฉพาะการคูณสิ่งที่ต้องการ ลอการิทึมทำหน้าที่การแปลงค่าการคูณของตัวเลขให้เป็นผลรวม และการหาค่าการหารของตัวเลขให้เป็นผลการลบเพื่อให้การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์นั้นง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

          Napier’s Bones คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการคำนวณตัวเลขการคูณและการหารให้ง่ายราวกับการบวกหรือการลบเลขและอีกทั้งยังคำนวณได้อย่างรวดเร็วและได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยเนเปียร์ได้ประดิษฐ์บรรทัดคำนวณนี้ขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์ของลอการึทึม

          กระดูกของเนเปียร์ หรือ ลูกคิดชาวเนปาล คือเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์นี้ประกอบไปด้วยตารางการคูณที่ถูกฝังอยู่ในบาร์เพื่อให้การหาค่าของการคูณหรือการหารนั้นทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น วัตถุเนเปียร์จะมีแผ่นที่มีขอบซึ่งคนที่วางแท่งเนเปียร์ภายในขอบเพื่อทำการคูณหรือหาร โดยขอบซ้ายของกระดานจะแบ่งออกเป็นช่องจำนวน 9 ช่อง โดยมีตัวเลขตั้งแต่เลข 1 ไปจนถึงเลข 9

           หลังจากที่เขาได้ประดิษฐ์และคิดค้นเครื่องมือในการคำนวณคณิตศาสตร์ต่าง ๆ จนทำให้ผู้คนนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย จอห์น เนเปียร์ ก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายจนเสียชีวิตที่เมือง Edinburgh, Scotland เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1617 ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุได้ 67 ปี

แหล่งที่มา

จอห์น เนเปียร์ (John Napier of Merchiston) . สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จากhttps://www.hoboctn.ru/2018/01/24/john-napier/

บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ ประวัติโดยย่อจอห์น เนเปียร์. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จากhttp://netchanoklove1.blogspot.com/2012/02/blog-post_8126.html

จอห์น เนเปียร์ (NEPER JOHN NAPIER ). สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2562. จาก . http://www.rmutphysics.com/teaching-glossary/index.php?option=com_content&task=view&id=5832&Itemid=13

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประวัติของจอห์น เนเปียร์, ผลงานสำคัญของจอห์น เนเปียร์
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 19 ธันวาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวเมขลิน อมรรัตน์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11209 รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอน ตอนที่ 14 จอห์น นาเปียร์ /article-mathematics/item/11209-14
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำลด
เตือนระวังเชื้อราในบ้าน-เสื้อผ้า หลังน้ำ...
Hits ฮิต (14501)
ให้คะแนน
กระทรวงสาธารณสุขแนะหลังน้ำลด ควรรีบทำความสะอาดบ้านภายใน 24 - 48 ชั่วโมง กำจัดเชื้อรา เสื้อผ้าที่จมน ...
ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด
ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด
Hits ฮิต (18841)
ให้คะแนน
ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด โลกเของเรามียุงอยู่ประมาณ 3,000 ชนิด เชื่อกันว่าโลกของเรามียุงมาตั้งแต่ 30 ล้ ...
เมื่อไหร่? คนเราเริ่มหลงลืม เรื่องง่ายๆก...
Hits ฮิต (14229)
ให้คะแนน
 

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)