logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • ช่วงล่างรถยนต์ สุนทรียะแห่งการขับขี่!

ช่วงล่างรถยนต์ สุนทรียะแห่งการขับขี่!

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 28 กันยายน 2563
Hits
4126

          รถยนต์น่าจะเป็นสิ่งของราคาแพงสิ่งหนึ่งที่มนุษย์นิยมซื้อเพื่อนำมาเป็นพาหนะประจำตัวของตน ดังนั้นก่อนจะทำการซื้อสินค้าที่ราคาแพงหลายแสนไปจนถึงหลายล้านเช่นนี้ เราควรมีความรู้ ความเข้าใจต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อที่จะได้ซื้อรถยนต์ที่เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิต (Life style) และความสามารถในการจ่ายของเรา

11469 1

ภาพระบบช่วงล่างรถยนต์
ที่มา https://pixabay.com, ArtisticOperations

          หนึ่งในจุดขายสำคัญที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์มักจะนำมาใช้โฆษณาเพื่อกระตุ้นยอดขายรถยนต์รุ่นต่าง ๆ คือ ความนุ่มนวลในการขับขี่ ความสามารถในการทรงตัว การเกาะถนนเมื่อเข้าโค้งหรือเมื่อใช้ความเร็วสูง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับระบบช่วงล่างของรถยนต์ทั้งสิ้น

          ถ้าผู้อ่านเคยมีประสบการณ์การนั่งรถยนต์ที่เป็นรถกระบะสำหรับการบรรทุก รถเก๋งสำหรับครอบครัว รถยนต์อีโคคาร์ขนาดเล็ก ก็คงจะทราบเป็นอย่างดีว่าแรงสั่นสะเทือนที่ส่งผ่านจากช่วงล่างแล้วเข้าสู่ห้องผู้โดยสารนั้น รถยนต์เหล่านี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง รถกระบะก็จะให้ความรู้สึกแข็งแรงแต่อาจจะกระด้างเมื่อสัมผัสกับพื้นถนนที่มีความขรุขระอีกทั้งยังอาจรู้สึกไม่มั่นใจเวลาเข้าโค้งเพราะตัวรถถูกออกแบบมาให้มีความสูงที่มาก กลับกันรถเก๋งก็จะให้ความรู้สึกนุ่มนวลในการขับขี่ที่มากกว่านั่งสบายทั้งผู้ขับและผู้โดยสาร อีกทั้งยังมีความสามารถในการเกาะถนนที่ดีกว่าเพราะมีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำกว่า (ความสูงของตัวรถต่ำกว่ารถกระบะหรือ Low center of gravity)

          วันนี้จึงจะพาผู้อ่านมาทำความรู้จักกับระบบช่วงล่างของรถยนต์ที่มักจะถูกเลือกไปใช้กับรถยนต์ยุโรปที่มีราคาสูง จนในปัจจุบันเราเริ่มเห็นค่ายรถยนต์ทางฝั่งญี่ปุ่นนำไปใช้กันบ้างแล้ว นั่นคือ ระบบช่วงล่างอิสระแบบปีกนกคู่ Double wishbone suspension

ทำไมต้องช่วงล่างปีกนก?

          จริง ๆ แล้ว Wishbone (n.) คือกระดูกไหปลาร้า ซึ่งเจ้าช่วงล่างแบบปีกนกนี้ก็มีลักษณะการออกแบบคล้ายกับกระดูกไหปลาร้าของนก (ลักษณะคล้ายรูปตัว Y) ดังนั้นช่วงล่างอิสระแบบปีกนกคู่ก็คือระบบช่วงล่างที่ล้อแต่ละข้างจะมีชิ้นส่วนที่ถูกออกแบบมาโดยใช้ชิ้นส่วนที่คล้ายกับกระดูกไหปลาร้าของนกสองชิ้นประกอบกัน

Double wishbone suspension ดีจริงมั้ย?

          ระบบช่วงล่างของรถยนต์นอกจากจะมีแบบ Double wishbone ที่เป็นที่นิยมแล้ว ก็ยังมีช่วงล่างแบบอื่นที่เป็นที่นิยมด้วยเช่น แบบคานแข็ง (Torsion beam) แบบแม็คเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut) และแบบมัลติลิงก์ (Multi-Link) ดังนั้นการจะตอบคำถามว่าช่วงล่างอิสระแบบปีกนกคู่นั้นดีที่สุดหรือไม่? ก็คงต้องตอบแบบกลาง ๆ ว่า ขึ้นอยู่กับประเภทรถ และการใช้งานของผู้ขับขี่ (และอีกหลากหลายปัจจัย เช่น อายุการใช้งาน ค่าบำรุงรักษา ความยาก-ง่ายในการซ่อมแซมปรับแต่ง) จริงอยู่ที่ว่ารถยนต์ที่มีช่วงล่างแบบปีกนกคู่มักจะให้ความรู้สึกนุ่มนวลมากกว่าและควบคุมได้อย่างมั่นใจในขณะขับขี่แม้ในสภาพถนนที่ขรุขระ เพราะการเป็นช่วงล่างแบบอิสระนั้นมีความหมายว่าแต่ละล้อจะทำงานเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนแยกกัน แรงกระแทกจึงส่งผลกระทบต่อตัวล้อเป็นหลัก ไม่ค่อยส่งผลต่อตัวถังที่มีผู้โดยสาร แต่การบำรุงรักษานั้นก็อาจจะต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่าเช่นกัน  ( ดูคลิปประกอบได้ที่ https://youtu.be/mNKMh2v6Upo )

Double wishbone suspension ถูกใช้ในรถยนต์หรู รถยนต์ยุโรปเป็นส่วนใหญ่

          ช่วงล่างอิสระแบบปีกนกคู่ถูกใช้ในรถยนต์สมรรถนะสูงเป็นส่วนใหญ่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างของรถยนต์ที่ใช้ช่วงล่างปีกนกคู่ เช่น  Alfa Romeo Giulia 952, Lancia Delta S4, Mercedes-Benz (most models), Toyota Tundra, Toyota Camry, Toyota Corolla Altis 2019, Toyota C-HR, MG Rover TF, Honda Accord and Aston Martin DB7. อีกทั้งยังเป็นระบบช่วงล่างที่นิยมสำหรับรถแข่งอย่าง Formula 1 ที่เป็นยานยนต์สำหรับแข่งทำความเร็ว มีโครงสร้างช่วงล่างเป็นแบบล้อเปิด คือสามารถมองเห็นช่วงล่างและล้อที่ยื่นออกมาจากตัวถังรถได้

          การเลือกซื้อสินค้า ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิต เราจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงความจำเป็นก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้งเสมอ ยิ่งเป็นของที่มีราคาสูงอย่างรถยนต์ด้วยแล้ว การศึกษาหาข้อมูลทุกด้านเพื่อเปรียบเทียบจากหลาย ๆ แบรนด์ การศึกษาหาข้อมูลทางด้านเทคนิค การศึกษาหาข้อมูลค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องต่าง  ๆ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เราสามารถใช้เงินได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

“If you buy things you do not need, soon you will have to sell things you need.”

  • Warren Buffett

แหล่งที่มา

MOOG. (Unknown). IS DOUBLE WISHBONE SUSPENSION BEST FOR YOUR CAR?.  Retrieved Mar 2, 2020 from https://www.moogparts.eu/blog/double-wishbone-suspension.html

Matt Kimberley. (July 26, 2018). What Is MacPherson Strut Suspension And Why Is It So Popular?.  Retrieved Mar 2, 2020 from https://www.carthrottle.com/post/what-is-macpherson-strut-suspension-and-why-is-it-so-popular/

Matt Kimberley. (October 17, 2018). What Is Multi-Link Suspension and How Is It Used?.  Retrieved Mar 2, 2020 from https://www.carthrottle.com/post/what-is-multi-link-suspension-and-how-is-it-used/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ช่วงล่างรถยนต์, ช่วงล่างอิสระแบบปีกนกคู่, Double wishbone suspension,การขับขี่
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 02 มีนาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11469 ช่วงล่างรถยนต์ สุนทรียะแห่งการขับขี่! /article-physics/item/11469-2020-04-20-08-55-55
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
WHO ประกาศภาวะหมดไฟเป็นความผิดปกติ
WHO ประกาศภาวะหมดไฟเป็นความผิดปกติ
Hits ฮิต (12645)
ให้คะแนน
ผู้ที่ดิ้นรนเพื่อรับมือกับความเครียดในที่ทำงาน และไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อาจมีความเสี่ยงสูง ...
แผ่นห้ามเลือดแผลภายนอกร่างกาย
แผ่นห้ามเลือดแผลภายนอกร่างกาย
Hits ฮิต (34721)
ให้คะแนน
ชีวิตของมนุษย์เป็นเรื่องไม่แน่นอน หลายชีวิตต้องจากโลกไปก่อนเวลาอันควรเพราะอุบัติเหตุต่างๆ แม้หลายรา ...
เห็ดมีพิษ ในสกุล อะมานิต้า ( Amanita ) ตอนที่ 1
เห็ดมีพิษ ในสกุล อะมานิต้า ( Amanita ...
Hits ฮิต (21347)
ให้คะแนน
เห็ดมีพิษ ในสกุล อะมานิต้า ( Amanita ) ตอนที่ 1 สุนทร ตรีนันทวัน เห็ดที่ขึ้นในธรรมชาติ บางชนิดเป็นเ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)