logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ฟิสิกส์
  • บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก

บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 15 มีนาคม 2561
Hits
29802

 

บูมเมอแรง (Boomerang)


        บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็กที่นิยมเล่นกันทั่วโลก หรือในประเทศไทยที่อาจจะนิยมไม่เท่าต่างประเทศ แต่ก็อาจเคยเห็นในการ์ตูนดังอยู่บ่อย ๆ ใครจะรู้ว่า เจ้าของเล่นบูมเมอแรงชิ้นนี้ มีหลักการทางฟิสิกส์ที่น่าสนใจซ่อนอยู่

 

ของเล่นบูมเมอแรง

ภาพ บูมเมอแรง
ที่มา YoLoBoomerang / Pixabay

 

          ด้วยความที่ว่าบูมเมอแรงมีการเล่นและผลของการเล่นที่น่าแปลกประหลาดใจคือ พอขว้างบูมเมอแรงออกไป มันก็จะเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วมีลักษณะหมุนโค้งไประยะไกล แล้ววกกลับมายังผู้ขว้าง หลายคนตั้งคำถามว่า บูมเมอแรงกลับมาหาผู้ขว้างได้อย่างไร

          ก่อนอื่นเรามารู้จักกันก่อนว่า ของเล่นอย่างบูมเมอแรงมีที่มาอย่างไร ตามแหล่งข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้มีการกล่าวถึงว่า บูมเมอแรงเป็นเครื่องมือสำหรับการล่าสัตว์ของชนพื้นเมืองอะบอริจินในออสเตรเลีย  บูมเมอแรง มี 2 แบบ แบบแรก สามารถวกกลับมาหาผู้ขว้างได้  และแบบที่สองคือ แบบวกกลับไม่ได้ ความแตกต่างของทั้ง  2 แบบคือ แบบวกกลับได้จะเคลื่อนที่เป็นวงกลมแล้ววกกลับมาจุดเริ่มต้น ทำจากไม้หรือพลาสติกที่มีขนาดเบา  ส่วนแบบที่สองจะมีขนาดใหญ่และยาวกว่า ซึ่งสามารถทำให้เคลื่อนที่ไปได้ไกล แบบที่สองนี้จึงเป็นที่นิยมใช้กันในกลุ่มชาวอะบอริจินที่ใช้ล่าสัตว์นั่นเอง แต่ก็มีการใช้แบบที่วกกลับบ้างอยู่เหมือนกันคือ ใช้สำหรับการแข่งขันเพื่อความสนุกว่าของใครจะกลับมาหาผู้ขว้างก่อนกัน

          หลักการที่ทำให้บูมเมอแรงสามารถลอยตัวอยู่ได้ ใช้หลักการเดียวกันกับการที่ทำให้เครื่องบินบินได้ โดยใช้รูปลักษณ์เป็นปัจจัยที่ทำให้ลอยและหมุนกลับได้ กล่าวคือ ขึ้นอยู่กับมุมและความหนาของบูมเมอแรง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำ ลักษณะของการแหวกอากาศโดยใช้ปีกที่มีลักษณะปีกด้านบนขวาทั้งสองข้างหนา ส่วนด้านล่างแบนราบ อากาศที่ผ่านตรงส่วนที่หนาจะเดินทางได้ไกลและเร็วกว่า ความกดอากาศจึงน้อยกว่าด้านล่างซึ่งบางกว่า   ดังนั้นความกดอากาศที่สูงกว่าจึงยกบูมเมอแรงให้ลอยได้  ส่วนการหมุนกลับมาหาผู้ขว้างนั้น ต้องอาศัยเทคนิคในขณะที่ขว้างบูมเมอแรงประกอบด้วยคือ การทำให้เกิดการหมุนจากแรกที่ส่งไปและเทคนิคการบิดข้อมือของผู้ขว้าง เพื่อให้ได้จังหวะให้บูมเมอแรงหมุนติ้ว การที่บูมเมอแรงหมุนกลับมาที่เดิมได้เพราะมีแรงลมและมีการหมุน และต้องปาในแนวตั้ง ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของหลักการทฤษฎีทางกลศาสตร์ และปรากฏการณ์รักษาการทรงตัว (gyroscopic effect) กล่าวคือมีแรงมากระทำกับบูมเมอแรงในขณะที่มันหมุนอยู่หลายแรงด้วยกันคือ แรงโน้มถ่วงของโลก แรงกระทำบนปีก แรงจากการขว้าง แรงที่เกิดจากความแตกต่างของความเร็ว และแรงจากลม 

           การทำบูมเมอแรงเป็นรูปทรงต่าง ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่นักนิยมเล่นบูมเมอแรงมักประดิษฐ์มาแข่งขันกันว่า  บูมเมอแรงของใครพุ่งไปได้ไกลที่สุด และใช้เวลาเดินทางสั้นที่สุด   

 

แหล่งที่มา

บูมเมอแรง.  สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561, จาก
           http://www.atom.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/howstuff2/boomerang/boomerangthai.htm

mgronline. (2551, 22  มีนาคม).   เฉลย! ขว้างบูเมอแรงในอวกาศ...มันจะกลับมาหาเราไหม?.  สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2561, จาก
          https://mgronline.com/science/detail/9510000034710 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
บูมเมอแรง, หลักการของบูมเมอแรง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 24 มกราคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7811 บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก /article-physics/item/7811-2017-12-19-02-15-33
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ฟ้าผ่าคืออะไร เกิดได้อย่างไร!!??
ฟ้าผ่าคืออะไร เกิดได้อย่างไร!!??
Hits ฮิต (30735)
ให้คะแนน
ฟ้าผ่าคืออะไร เกิดได้อย่างไร เชื่อไหมว่าในอดีตมนุษย์ได้พบเห็นฟ้าผ่า และเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของ ...
ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า
ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า
Hits ฮิต (31374)
ให้คะแนน
ท่าที่ลดความเสี่ยงจากฟ้าผ่า คำตอบ B นั่งยองๆ เท้าชิด มือปิดหู ปลอดภัยกว่า นอนราบ เหตุผล : เดิมทีนั้ ...
Li-Fi อินเทอร์เน็ต จากหลอดไฟ!
Li-Fi อินเทอร์เน็ต จากหลอดไฟ!
Hits ฮิต (24673)
ให้คะแนน
Li-Fi อินเทอร์เน็ต จากหลอดไฟ! เชื่อว่าปัจจุบันนี้ อินเทอร์เน็ต ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบปัจจั ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)