logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • มาทำความรู้จักกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

มาทำความรู้จักกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

โดย :
ศรุดา ทิพย์แสง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 29 ตุลาคม 2563
Hits
9690

          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นสิ่งสำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่เป็นอย่างมาก สืบเนื่องมาจากเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเชื่อจากศรัทธาของคริสต์ศาสนามาสู่การใช้สติปัญญามีเหตุมีผล  และในขณะเดียวกันนั้นการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ยังส่งผลต่ออิทธิพลในสมัยยุคภูมิธรรมซึ่งเป็นขบวนการทางความคิดทางภูมิปัญญาโดยใช้พื้นฐานความคิดในรูปแบบวิทยาศาสตร์  ทำให้วิทยาศาสตร์กลายมาเป็นศาสนาใหม่ของชุมชนวิทยาศาสตร์ อีกทั้งในเวลาต่อมาแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ได้แพร่ขยายออกเป็นวงกว้างไปทั่วมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในยุโรปจวบจนกระทั่งได้กลายมาเป็นระบบการศึกษาของทั่วโลกในปัจจุบัน  

          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในทวีปยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่  16-18  ทำให้มนุษย์สามารถค้นพบวิทยาศาสตร์และเอาชนะธรรมชาติได้  และยังสามารถนำธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์  เกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนา  ทำให้สังคมชาวตะวันตกสามารถพัฒนาความก้าวหน้าได้รวดเร็วกว่าดินแดนอื่น ๆ  ของโลก และกลายเป็นประเทศที่ทันสมัยของโลกจนถึงปัจจุบัน  การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นผลสืบเนื่องมาจากแนวคิดของมนุษย์นิยมที่ยึดหลักการของเหตุและผลแทนความเชื่อที่งมงาย  ซึ่งในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการทำให้เกิดการค้นคว้าเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ๆมากยิ่งขึ้น  โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์  ทำให้เกิดองค์ความรู้และการประดิษฐ์  คิดค้นด้านต่าง ๆ อย่างมากมาย

          ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ คือ

  1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (เรอเนสซองส์) ด้วยสิ่งนี้ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองมากยิ่งขึ้น โดยเรียกแนวคิดนี้ว่า แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ทำให้อิสระทางความคิดหลุดพ้นจากอิทธิพลครอบงำของคริสตจักร (ศาสนจักร)  และพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของตนเองให้ดีขึ้น

  2. การพัฒนาเทคโนโลยีในดินแดนเยอรมันทางตอนใต้ โดยการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ แบบใช้วิธีเรียงตัวอักษรของ  โยฮัน กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg)  นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1448  ทำให้ในยุคปัจจุบันนี้สามารถพิมพ์หนังสือเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง

  3. การสำรวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมานั้น ได้รับ อารยาธรรมความรู้ต่าง ๆ จากจีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เซียเผยแพร่เข้ามาในสังคมโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น

  4. แนวคิดมนุษยนิยม ( Humanism ) ซึ่งได้รับมาจากหลักปรัชญาของชาวกรีกโดยสอนให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตนเอง เชื่อมั่นในความมีเหตุผล และนำไปสู่การค้นหาความจริงของสรรพสิ่งต่างๆ ในโลกโดยไม่มีที่สิ้นสุด

  5. แนวคิดในปรัชญาธรรมชาตินิยม ( Naturalism ) สอนให้เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ล้วนดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัวมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และทำให้วิทยาศาสตร์กลายมาเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ โดยเน้นศึกษาเรื่องรวมทางธรรมชาติ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าและทดลองจนเกิดองค์ความรู้ใหม่เรียกว่าเป็น ยุคแห่งภูมิธรรม หรือ ยุคแห่งการรู้แจ้ง (The Enlightenment)

          การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในยุคแรกเริ่มต้น  เป็นการค้นพบความรู้ทางดาราศาสตร์ ทำให้เกิดคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ  ซึ่งเป็นการท้าทายความเชื่อดั้งเดิมของคริสต์ศาสนา  สรุปได้ดังนี้

  1. การค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาลของนิโคลัส (Nicholaus Copernicus) ชาวโปแลนด์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สาระสำคัญ คือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล  โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรโดยรอบ ซึ่งทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสตจักรอย่างมาก แต่ก็ถือว่าความคิดของโคเปอร์นิคัสเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์  และทำให้ชาวตะวันตกให้ความสนใจเรื่องราวลี้ลับของธรรมชาติ

11479 1
ภาพแบบจำลองระบบสุริยะของโคเปอร์นิคัส (I. วงโคจรของดาวฤกษ์  ,II. วงโคจรของดาวเสาร์,
III. วงโคจรของดาวพฤหัสบดี ,IIII. วงโคจรของดาวอังคาร ,V. วงโคจรของโลกและดวงจันทร์​,
VI. วงโคจรของดาวศุกร์ ,VII. วงโคจรของดาวพุธ ,จุดศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ )
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/File:Copernican_heliocentrism_diagram-2.jpg , Copernicus 1543, Professor marginalia

  1. การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ( Telescope ) ของกาลิเลโอ (Galileo Galilei) ชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1609 ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ได้เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ได้สังเกตการณ์เคลื่อนไหวของดวงดาว  และได้เห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์  เป็นต้น

  2. การค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ของโจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ชาวเยอรมัน ในช่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และสรุปได้ว่าเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปไข่หรือรูปวงรีไม่ใช่เป็นวงกลมตามทฤษฎีขอโคเปอร์นิคัส

          สรุปได้ว่า  การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความคิด และสติปัญญาของมนุษย์  ทำให้สังคมโลกก้าวสู่สมัยแห่งความก้าวหน้า และพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งที่มา

Margaret J. Osler,Stephen G. Brush,J. Brookes Spencer.  Scientific Revolution.  Retrieved May 10, 2020, from https://www.britannica.com/science/Scientific-Revolution

Robert A. Hatch - University of Florida. The Scientific Revolution.  Retrieved May 10, 2020, from http://users.clas.ufl.edu/ufhatch/pages/03-Sci-Rev/SCI-REV-Teaching/03sr-definition-concept.htm

ครูวิไลวรรณ. (2013, 15 July).  6. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://wl.mc.ac.th/?p=108

พงศ์ศักดิ์ สังขภิญโญ. พื้นฐานความรู้ทางวรรณกรรม.  สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/science/unit4_11.html

                                                                                  

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์,วิทยาศาสตร์, แนวคิดของมนุษย์นิยม,ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ,การประดิษฐ์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 10 พฤษภาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศรุดา ทิพย์แสง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11479 มาทำความรู้จักกับการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ /article-science/item/11479-2020-04-21-07-25-03
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ปภ. แนะดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยช่วงน้ำท่วม
ปภ. แนะดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยช่วงน้ำท่ว...
Hits ฮิต (13648)
ให้คะแนน
ขอขอบคุณข้อมูล จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทยและวิชาการดอทคอม ภาวะฝนตกหนักอย่างต่อเน ...
ชื่อเรียกของพายุแต่ละแห่ง มีที่มาจากอะไรกันนะ?
ชื่อเรียกของพายุแต่ละแห่ง มีที่มาจากอะไร...
Hits ฮิต (21430)
ให้คะแนน
หากกล่าวถึงฤดูฝนแล้วนั้น ในแถบภูมิภาคเขตร้อนชื้นอย่างประเทศไทยเรานั้น มีพายุหลาย ๆ ลูกที่พัดผ่านและ ...
แมลงร้ายในฟาร์มเมล่อน
แมลงร้ายในฟาร์มเมล่อน
Hits ฮิต (10279)
ให้คะแนน
แมลงศัตรูสำคัญในฟาร์มเมล่อน แตงเมล่อน เป็นพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Cucumis ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)