logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • รู้ไว้ใช่ว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของเชื้อโรค”

รู้ไว้ใช่ว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของเชื้อโรค”

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 18 กุมภาพันธ์ 2564
Hits
1731

           จากภาวะวิกฤติในช่วงต้นปี ค.ศ. 2020 กับการแพร่กระจายและการระบาดของไวรัสโคโรนา (covid-19) ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อและลุกลามไปทั่วโลก ผู้คนเจ็บป่วยและล้มตายเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศแถบยุโรป เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สเปน อังกฤษ หรือแม้แต่ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่หากดูเรื่องความสะอาดและสาธารณูปโภคนั้น ดูจะไม่แตกต่างกับประเทศแถบเอเชียเช่น สิงคโปร์หรือแม้แต่ญี่ปุ่นเองก็ตาม ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า แล้วทำไมอัตราการตายหรือการติดเชื้อในประเทศแถบยุโรปจึงพุ่งสูงขึ้นรายวันได้แบบก้าวกระโดดกว่าประเทศแถบเอเชียเรา สภาพอากาศหรืออุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหรือไม่?  แล้วเราจะมีวิธีการใดในการดูแลและป้องกันตนเองจากเชื้อโรคเหล่านี้ได้อย่างไร วันนี้ผู้เขียนมีข้อมูลดีๆมาฝากให้ลองศึกษาเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสดังกล่าวค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ตามไปศึกษากันค่ะ!

 11642 1

ภาพที่ 1 ไวรัสโคโรนา (coronavirus)
ที่มา https://www.pixabay.com/ , geralt

          จากข้อมูลการศึกษาในห้องทดลอง ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine เมื่อ 17 มีนาคม 2563 พบว่าเชื้อไวรัสโคโรนา สามารถคงอยู่เป็นสภาพละอองฝอยได้เป็นระยะเวลาถึง 3 ชั่วโมง  จึงทำ ให้องค์การอนามัยโลก World Health Organizations หรือ WHO ออกมาเตือนบุคลากรทางการแพทย์ให้เฝ้า ระวังว่าเชื้อชนิดนี้อาจจะแพร่กระจายแบบแขวนละอองในอากาศ หรือที่เรียกว่า Airborne transmission  และต้องป้องกันตัวเองทุกครั้งก่อนดูแลผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตามต้องได้รับการศึกษายืนยันเพิ่มเติมต่อไปว่ามี โอกาสแพร่เชื้อในสภาพแวดล้อมจริงหรือไม่ ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วนั้นมี หลายช่องทาง ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อระหว่างคนสู่คน (person-to-person transmission) เป็นช่องทางหลัก ที่เกิดได้จาก 2 ช่องทาง  ได้แก่

  • การติดต่อผ่านทางละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet transmission) เมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้

ติดเชื้อภายในระยะ 2 เมตร หรือ 6 ฟุตนั่นเอง หรือผู้ติดเชื้อไอหรือจามแล้วทำให้เกิดละอองฝอยซึ่งสามารถกระเด็นเข้าเยื่อบุตา ช่องปาก เยื่อบุโพรงจมูกโดยตรง หรือหายใจเข้าสู่ปอด

  • การติดต่อผ่านทางการสัมผัส (Direct and indirect transmission) เช่น การที่ผู้ติดเชื้อ

          นำมือที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรือเสมหะของตนเองไปสัมผัสตามพื้นผิวต่างๆ เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน ลูกบิดประตู   แล้วมีผู้ที่ไม่ทันระมัดระวังไปจับพื้นผิวดังกล่าวแล้วกลับมาสัมผัสบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณเยื่อบุตา จมูก  ช่องปาก จนได้รับเชื้อต่อมา โดยระยะเวลาที่เชื้อจะคงอยู่ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ ลักษณะพื้นผิว และอุณหภูมิ  ของพื้นผิว พบว่าหากอุณหภูมิสูงขึ้น เช่น 30-40 องศาเซลเซียส เชื้อจะคงอยู่ได้สั้นลง แต่ถ้าหากอุณหภูมิต่ำถึง  4 องศาเซลเซียส เชื้ออาจจะอยู่ได้เป็นเดือน  จากการศึกษาแบบจำลองในห้องทดลอง ณ อุณหภูมิ 21-23   องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 40% พบว่าสามารถตรวจเชื้อที่ตกค้างอยู่พื้นผิวได้นานถึง 72 ชั่วโมง และบางการศึกษาพบว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ต่างๆอาจจะอยู่ได้ตั้งแต่ 2 ชั่วโมงจนถึง 9-14 วันบนพื้นผิวที่อุณหภูมิห้อง หรือประมาณ 21 องศาเซลเซียส    

วิธีการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ   

          ถึงแม้ว่าไวรัสโคโรนา (covid-19) จะดูน่ากลัว แพร่กระจายเร็ว และมีโอกาสติดได้ง่าย แต่พวกเราสามารถช่วย   ป้องกันตัวเองและคนอื่นที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของประเทศสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention - CDC) ด้วยวิธีการต่อไปนี้  

          1) ตั้งสติ ศึกษาหาข้อมูลและเข้าใจวิธีการแพร่ระบาดของตัวโรคอย่างถูกต้อง  

          2) หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดหรือสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ยืนยันหรือสงสัยโรค

          3) ล้างมือบ่อยๆอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะหลังไอ จาม ก่อนสัมผัสบริเวณใบหน้า ก่อนรับประทานอาหาร   หลังการใช้ห้องน้ำ หลังสัมผัสพื้นผิวในที่สาธารณะ เช่น ปุ่มลิฟต์ มือจับประตู ราวบันได

          4) ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ (40-60 วินาที) หากทำได้ครบ 11 ขั้นตอนอย่างถูกต้องตาม คำแนะนำของ WHO ก็จะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ไม่ต่างจากเจลแอลกอฮอล์ และควรใช้วิธีนี้เมื่อมีสิ่งสกปรกหรือสารคัดหลั่งบนมือชัดเจน เช่น หลังไอ จาม มีเสมหะ น้ำมูก หรือสารคัดหลั่งปนเปื้อนบนมือ

          5) ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ (20-30 วินาที) ด้วยขั้นตอนการล้างมือเช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้น ล้างให้ทั่วมือจนแห้ง ไม่ต้องล้างน้ำซ้ำ

          6) ใส่หน้ากากอนามัยในกรณีที่มีโอกาสสัมผัสผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ทำงานในโรงพยาบาล สนามบิน คนขับรถ หรือสถานที่แออัด เช่น ผับ โรงหนัง สนามมวย สนามม้า

          7) ทำความสะอาดพื้นผิวด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ (Disinfectant) ตามพื้นผิวต่างๆ เป็นประจำทุกวัน เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ โทรศัพท์ คีย์บอร์ด ชักโครก อ่างล้างมือ ปุ่มกดลิฟต์ บริเวณที่มีการสัมผัสร่วมบ่อยครั้ง จำเป็นต้องทำความสะอาดระหว่างวันอย่างพอเพียง โดยถ้าพื้นผิวมีความสกปรกมากควรใช้สบู่หรือน้ำทำความสะอาดก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อตามพื้นผิว

หรือ

11642 2             

ภาพที่ 2 โครงสร้างของสบู่หรือโซเดียมสเตียเรต
ที่มา https://catherinekonold.wordpress.com/as-general-education/chem-1010/

ข้อแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ (Hand sanitizer)

      การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือลดจำนวนเชื้อหรือฆ่าเชื้อเพื่อไม่ให้มีการนำเชื้อจากบริเวณมือเข้าสู่ตนเองหรือแพร่ไปยังผู้อื่น โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้ต่อไปนี้

      1) สบู่ (Soap) และการล้างมือที่ถูกต้อง (Hand hygiene) เป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งสกปรก เชื้อโรค หรือไวรัสให้หลุดออกไปจากมือเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ โดยอาศัยการลดแรงตึงผิวช่วยให้น้ำชะล้างสิ่งสกปรกอยากจากมือได้ดีขึ้น แต่อาจจะมีความลำบากคือต้องมีอ่างล้างมือและกระดาษเช็ดมือ

          เราจะสังเกตได้ว่าสิ่งสกปรกต่าง ๆ สามารถเกาะติดกับเสื้อผ้าและผิวหนังได้ก็เพราะสิ่งสกปรกเหล่านี้

          เกาะติดอยู่กับไขมัน  ดังนั้นถ้าสามารถละลายไขมันแยกออกไปจากเสื้อผ้าหรือผิวหนัง สิ่งสกปรกก็จะหลุดออกไปด้วย เป็นการทำความสะอาดเสื้อผ้าและผิวหนัง  แต่เนื่องจากไขมันเป็นโมเลกุลที่ไม่ละลายน้ำ  ถ้าใช้น้ำล้างอย่างเดียวสิ่งที่ติดอยู่กับไขมันก็จะไม่หลุดออกไป  ถ้าใช้สบู่จะช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่าย  เนื่องจากโมเลกุลของสบู่ประกอบด้วย  2 ส่วนคือ ส่วนที่ไม่มีขั้ว (ส่วนที่เป็นสายยาวของไฮโดรคาร์บอน) และส่วนที่มีขั้ว

          การที่สบู่สามารถชะล้างสิ่งสกปรกที่มีไขมันและน้ำมันฉาบอยู่ได้  ก็เนื่องจากกลุ่มสบู่ในน้ำจะหันปลายส่วนที่เป็นไฮโดรคาร์บอนซึ่งไม่มีขั้ว เข้าล้อมรอบสิ่งสกปรก (ไขมันและน้ำมัน) ซึ่งไม่มีขั้วและไม่ละลายน้ำ  และดึงน้ำมันออกมาเป็นหยดเล็ก  ๆ  ล้อมรอบด้วยโมเลกุลสบู่  และหันส่วนมีขั้วออกหาน้ำ (ส่วนของคาร์บอกซีเลทจะละลายในน้ำ) หยดน้ำมันแต่ละหยดที่ถูกดึงออกมาจึงมีประจุลบล้อมรอบและเกิดการผลักกัน  จึงกระจายออกไปอยู่ในน้ำมีลักษณะเป็นอิมัลชันหลุดออกไปจากผิวหน้าของสิ่งที่ต้องการทำความสะอาด

 11642 3

ภาพที่ 3 กลไกการทำปฏิกิริยาของของสบู่กับคราบสกปรกบนผิวหนังและเสื้อผ้า
ที่มา http://nsb.wikidot.com/c-9-5-5-3

        2) แอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ (Alcohol-based hand sanitizer) ทำความสะอาดมือจนทั่วจนกระทั่งมือแห้งเพื่อฆ่าเชื้อโรคบริเวณมือโดยไม่ต้องใช้น้ำ โดยแอลกอฮอล์จะทำหน้าที่ฆ่าเชื้อไวรัสให้ตายและไม่สามารถแพร่เชื้อต่อไปได้

             2.1. ชนิดเอธิล แอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol) หรือ เอธานอล (Ethanol) เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาดมากที่สุด ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60% โดยปริมาตรต่อปริมาตร (%v/v)

             2.2. ชนิดไอโซโพรพานอล (Isopropanol) หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70% (%v/v)

        หมายเหตุ: จากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 9 มีนาคม 2563 ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า 70% ไม่สามารถผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายในประเทศ ไทยได้ จึงเหลือผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70% อยู่ในท้องตลาดเท่านั้น (อ้างอิง  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/054/T_0006.PDF)  ซึ่งในส่วนของแอลกอฮอล์กับการทำความสะอาดนั้นได้กล่าวถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้า ย้อนกลับไปติดตามเพื่อความชัดเจนได้ค่ะ

แหล่งที่มา

จตุรงค์ สุภาพพร้อม. (2559). สารชีวโมเลกุล ตอน ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส ของไขมันและน้ำมัน – สบู่และผงซักฟอก. สืบค้นเมื่อ  31 พฤษภาคม 2563. จาก http://www.phukhieo.ac.th/obec-media/2555/manual/   

ธนกฤต พงพิทักษ์เมธา และนพดล วัชระชัยสุรพล. (2563). การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือและฆ่าเชื้อตามพื้นผิวต่างๆ เพื่อกำจัด ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ เชื้อไวรัสโควิด-19 (Application of hand sanitizer and disinfectant for COVID-19). ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; กรุงเทพฯ. จาก http://www.findglocal.com/TH/Bangkok/610743119019215/MDCU-Pharmacology/ 

CDC. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) - Transmission [Internet]. Centers for Disease Control and Prevention. 2020 [cited 2020 Mar 18].  Retrieved on 31, May 2020. from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prepare/transmission.html

CDC. Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) – Prevention & Treatment [Internet]. Centers for Disease Control and Prevention. 2020 [cited 2020 Mar 17]. Retrieved on 31, May 2020. from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prepare/prevention.html

WHO | Clean hands protect against infection [Internet]. WHO. World Health Organization; [cited 2020 Mar 19].Retrieved on 31, May 2020. from: https://www.who.int/gpsc/clean_hands_protecti 

Sattar SA, Springthorpe VS, Karim Y, Loro P. Chemical disinfection of non-porous inanimate surfaces experimentally contaminated with four human pathogenic viruses. Epidemiol Infect. 1989 Jun;102(3):493–505.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การทำความสะอาด, เชื้อโรค, การแพร่กระจายเชื้อโรค, โคโรนาไวรัส
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 06 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11642 รู้ไว้ใช่ว่า “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของเชื้อโรค” /article-science/item/11642-2020-06-30-03-33-36
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ตัวร้อยขาปนมากับน้ำได้อย่างไร อันตรายหรือไม่
ตัวร้อยขาปนมากับน้ำได้อย่างไร อันตรายหร...
Hits ฮิต (33977)
ให้คะแนน
ตัวร้อยขา หรือ ตัวสงกรานต์ (Sand Worm) จัดอยู่ใน Phylum Annelida Class Polychaeta เป็นสัตว์ประเภทหน ...
มหัศจรรย์ ดาวทะเล
มหัศจรรย์ ดาวทะเล
Hits ฮิต (22681)
ให้คะแนน
อะไรเอ่ยชื่อเหมือนปลาแต่รูปร่างคล้ายดาว ปลาดาว หรือ "ดาวทะเล" ที่อยู่ในชั้น Asteroidea เป็นสัตว์ทะเ ...
โรคที่มากับหน้าหนาว
โรคที่มากับหน้าหนาว
Hits ฮิต (8134)
ให้คะแนน
กําลังจะเข้าหน้าหนาวแล้วเมื่อเข้าสู่หน้าหนาวลมหนาวที่หลายคนรอคอยก็กําลังจะมาเยือน ในขณะเดียวกันนี้ม ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)