logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • สะเต็มศึกษา
  • ถอดบทเรียน 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงกับสะเต็มศึกษา

ถอดบทเรียน 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงกับสะเต็มศึกษา

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันอังคาร, 05 กุมภาพันธ์ 2562
Hits
16475

          หลาย ๆ ท่านยังคงจำเหตุการณ์ที่ทีมฟุตบอลเยาวชนท้องถิ่นหมูป่าอะคาเดมี่ 12 คนและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอีก 1 คนติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 กันได้หรือไม่? พวกเขาได้เข้าไปสำรวจพื้นที่ภายในบริเวณถ้ำหลวงและไม่สามารถกลับออกมาได้เนื่องจากน้ำป่าไหลเข้าท่วมปิดทางเข้าออก เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความสามัคคีทั้งคนในชาติและคนทั่วโลกโดยไม่แบ่งชนชั้น เชื้อชาติหรือแม้แต่ศาสนา แต่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคือ อยากเห็นทีมนักเตะเยาวชนชุดนี้รวมทั้งโค้ชออกมาจากถ้ำให้จงได้ จนได้มีวลีหนึ่งที่ฮิตติดปากกันว่า “คนแปลกหน้าที่อยากเจอที่สุด”

9096 1
ภาพที่ 1 ภาพโค้ชและนักเตะทีมหมูป่าอะคาเดมี่
ที่มา  http://news.thaipbs.or.th/hotissues/focus/cave

       ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง เริ่มขึ้นในทันทีตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 และเสร็จสิ้นปฏิบัติการในวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 รวมระยะเวลาปฏิบัติภารกิจทั้งสิ้น 17 วัน 4 ชั่วโมง 29 นาที ในการค้นหาและกู้ภัยครั้งนี้เป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ภัย การดำน้ำ การขุดเจาะ นักภูมิศาสตร์ นักปีนเขา ตำรวจ ทหาร เอกชนจากทุกภาคส่วนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่ได้รับความสนใจจากสังคมเป็นวงกว้าง จนเป็นที่จดจำและสร้างความประทับใจให้กับคนทั่วทุกมุมโลกได้อย่างแท้จริง

       หากจะหันมามองบทเรียนในครั้งนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเชื่อมโยงและบูรณาการสะเต็มศึกษาไปใช้แก้วิกฤติปัญหาในครั้งนี้? และในส่วนของสะเต็มศึกษาจากที่เราเคยได้ศึกษากันมาก่อนนี้แล้วนั้นจะเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งในวันนี้เราก็จะพูดถึงการเรียนรู้บูรณาการสะเต็มศึกษาในเชิงกระบวนการ (Process) หรือวิธีการ (Approach) จากเหตุการณ์ 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงนั้นเราจะมองเห็นได้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริง (Real Situations Problem Solving Process) ซึ่งเราสามารถบูรณาการสะเต็มศึกษามาใช้ในการแก้ปัญหาครั้งนี้โดยอาศัยกระบวนการทางวิศวกรรม (Engineering Design Process: EDP) 5 ขั้นตอน (สสวท., 2557) ได้ดังนี้

       เริ่มต้นจาก 1) การระบุประเด็นปัญหา: จากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง ก็คือ “น้ำท่วมปิดทางเข้าออกถ้ำ ทำให้มีคนติดอยู่ภายในถ้ำถึง 13 ชีวิต ซึ่งขณะนั้นเองยังไม่ทราบได้ว่าคนที่ติดอยู่ในถ้ำจะยังมีชีวิตอยู่หรือไม่?” และเกิดคำถามนำทางการแก้ปัญหา ก็คือ “ทำอย่างไรจึงจะทราบว่าคนที่ติอยู่ในถ้ำอยู่พิกัดตำแหน่งใดของถ้ำและต้องช่วยเหลือคนที่อยู่ภายในถ้ำให้ออกมาได้อย่างไร? อีกทั้งยังต้องทำงานแข่งกับเวลาและสภาพอากาศที่เลวร้ายฝนตกชุกแทบทุกวันของการทำงาน”

       2) การค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง: เกิดการศึกษาและค้นหาแผนที่ภายในถ้ำจากคนถิ่นที่เคยเข้าไปสำรวจ รวมถึงนักเดินถ้ำต่างชาติที่เคยได้เข้ามาเดินสำรวจในก่อนหน้านี้เพื่อร่วมกันระดมความคิด วาดแผนที่ภายในถ้ำ รวมถึงยังต้องอาศัยศาสตร์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศาสตร์ความรู้ทางด้านธรณีฟิสิกส์ ศาสตร์ความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ภูมิประเทศ ทางไหลของแหล่งน้ำเพื่อปิดกั้นตาน้ำไม่ให้น้ำไหลเข้าถ้ำได้อีก ด้วยความหวังว่าผู้ที่ติดอยู่ในถ้ำจะยังคงมีพื้นที่อากาศสำหรับการหายใจได้

       3) การวางแผนและพัฒนา: จากนั้นจึงเกิดการระดมความคิด ร่วมกันวางแผน การคาดคะเนความเป็นไปได้ทุกทาง เกิดการระดมสรรพกำลังของทุกหน่วยงาน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ กำลังแรงกายและแรงใจจากหลายๆหน่วยงานทั้งหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีเหล่าจิตอาสาร่วมด้วยช่วยกันช่วยในปฏิบัติการครั้งนี้อีกด้วย

      4) การทดสอบและประเมินผล: จากการระดมความคิดร่วมกันวางแผนปฏิบัติการครั้งนี้ทำให้แบ่งแผนการปฏิบัติการออกเป็น 3 ระยะ ก็คือ ระยะที่ 1 ปฏิบัติการค้นหา ระยะที่ 2 ปฏิบัติการกู้ภัย และระยะที่ 3 ปฏิบัติการส่งกลับ ซึ่งหากเราติดตามข่าวสารจากทุกช่องทางจะทราบว่าคณะทำงานร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้ร่วมกันวางแผน ทดสอบ สรุปและประเมินงานกันแทบจะเรียกได้ว่านาทีต่อนาทีกันเลยทีเดียว ด้วยเป้าหมายเดียวกันก็คือ อยากเห็นคนที่ติดอยู่ในถ้ำทุกคนออกมาได้อย่างปลอดภัยและกลับสู่อ้อมกอดพ่อแม่ญาติพี่น้องของพวกเขา

     5) การนำเสนอผลลัพธ์: ผลลัพธ์ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ก็คือ ความสำเร็จผลของปฏิบัติการทั้ง 3 ระยะตั้งแต่การค้นพบผู้สูญหายทั้ง 13 คนเจอในจุดที่เรียกว่า เนินนมสาว ซึ่งจากปากทางเข้าถ้ำผ่านช่องแคบทางคดเคี้ยวผ่านเนินทรายรวมถึงจุดที่น้ำท่วมมิดจนถึงเนินที่พบตัวรวมระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งปฏิบัติการกู้ภัยก็เป็นไปได้ยากและดำเนินการอย่างทุลักทุเลเช่นเดียวกัน  หากจะมองลึกลงในขั้นตอนนี้อาศัยทั้งเทคโนโลยีที่เป็นความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นเครื่องมือ ดังที่เราเคยได้ให้นิยามของเทคโนโลยีไว้ในคราวที่แล้วนั้น  เครื่องมือและความรู้ทางเทคโนโลยีที่มาช่วยนำทางหรือแม้แต่ช่วยในการสำรวจมีหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น เครื่องสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ เครื่องฉายแสง 3D สำรวจภายในถ้ำ เครื่องสำรวจและขุดเจาะถ้ำ ชุดประดาน้ำ เครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ ถังอากาศ ชุดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างในการการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมถึงเวชภัณฑ์ยารักษาโรคทุกชนิด หรือแม้แต่ยาที่ฉีดเพื่อลดความตื่นตระหนกในระหว่างการเคลื่อนย้ายนักตะทีมหมูป่าอะคาเดมี่และผู้ช่วยผู้ฝึกสอน เป็นต้น

    จากปฏิบัติการค้นหา 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงในครั้งนี้ เราถอดบทเรียนอะไรได้บ้าง เราบูรณาการสะเต็มศึกษาได้อย่างไรบ้าง บทเรียนครั้งนี้ให้อะไรเรามากกว่าประสบการณ์ มากกว่าสิ่งที่เราได้ยิน ได้เห็น ได้ฟังมา แต่มากกว่านั้นคือมิตรภาพไม่มีพรมแดนและเชื้อชาติโดยแท้จริง

แหล่งที่มา

สะเต็มศึกษาประเทศไทย. (2558ข). มุมมองการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2561, จาก http://www.stemedthailand.org/

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). รู้จักสะเต็ม. สืบคนเมื่อ 13 กันยายน 2561, จาก http://www.stemedthailand.org/

วิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี. ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki

Reeve, E. M. (2013). Implementing Science, Technology, Mathematics, and Engineering (STEM) Education in Thailand and in ASEAN. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สะเต็มศึกษา, เทคโนโลยี, ความรู้, การสืบเสาะหา, ปัญหา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9096 ถอดบทเรียน 13 ชีวิตติดถ้ำหลวงกับสะเต็มศึกษา /article-stem/item/9096-13
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางฟิสิกส์
การเตะบอลให้โค้งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักก...
Hits ฮิต (9491)
ให้คะแนน
หากเราย้อนกลับไปในฤดูร้อนของปีค.ศ. 1997 ในขณะที่มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมจากประเทศฝรั่งเศสและทีม ...
บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก
บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็ก
Hits ฮิต (28454)
ให้คะแนน
บูมเมอแรง (Boomerang) บูมเมอแรง (Boomerang) ของเล่นในวัยเด็กที่นิยมเล่นกันทั่วโลก หรือในประเทศไทยที ...
Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแต่วัยเรียนจนวัยทำงาน
Scientific Method สิ่งที่ใช้ได้จริงตั้งแ...
Hits ฮิต (13399)
ให้คะแนน
ครั้งหนึ่งผู้เขียนเคยนั่งคิดเล่น ๆ ว่าคนเราจะสามารถพัฒนาตัวเองทุกวันได้อย่างไร เพราะเรามักจะได้ยินแ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)