logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • Human Augmentation ปรับขีดความสามารถของมนุษย์

Human Augmentation ปรับขีดความสามารถของมนุษย์

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันจันทร์, 07 กันยายน 2563
Hits
4225

          คุณเคยคิดเกี่ยวกับข้อบกพร่องของตัวเองบ้างหรือไม่ อย่างเช่นเคยคิดว่าถ้าสูงกว่านี้อีกสักหน่อยก็คงจะดี ถ้าไม่สายตาสั้นแบบนี้คงสะดวกกว่านี้ หรือถ้าแข็งแรงกว่านี้ก็คงจะดี ซึ่งมนุษย์ทุกคนล้วนมีข้อบกพร่องของตัวเองที่รู้สึกไม่พอใจไม่ว่าจะมากหรือจะน้อยก็ตาม รู้ไหมว่าเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2020 มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่จะสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อบกพร่องและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับร่างกายของเราให้ใช้งานได้ดีมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้เรียกว่า Human Augmentation จะเป็นอย่างไรติดตามอ่านกันได้เลย

          Human Augmentation เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงทางด้านการรับรู้และกายภาพ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะไม่คุ้นเคยนักว่ามันคืออะไร แต่หลังจากนี้เทคโนโลยีนี้คงมีส่วนสำคัญในชีวิตของหลาย ๆ คนอย่างแน่นอน จริง ๆ เพราะมันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มนุษย์เราสามารถปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงขีดความสามารถของตัวเองได้อย่างที่เราต้องการที่จะเป็นได้มากกว่าความสามารถที่มีอยู่เดิม 

          ที่จริงแล้วเรานั้นได้รู้จักกับเทคโนโลยีประเภทนี้มาเป็นเวลานานแล้ว เช่นการทำแว่นสายตา เครื่องช่วยฟัง อวัยวะเทียมที่พัฒนามาเป็นประสาทหูเทียม (cochlear implants) การผ่าตัดดวงตาด้วยเลเซอร์ หรืออาจจะเป็นสิ่งอื่น ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ของชีวิต ถึงแม้ว่า Human Augmentation จะเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้มนุษย์สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดหรืออุปสรรคต่าง ๆ ของร่างกายได้ แต่มันไม่ใช่เทคโนโลยีทั่วไปที่ตั้งไว้รอเราไปใช้งาน แต่จะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาติดตั้งหรือเป็นส่วนประกอบหนึ่งของร่างกายเราโดยตรง โดยรูปแบบส่วนใหญ่นั้นก็อาจจะมาในรูปแบบของอวัยวะเทียม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอวัยวะภายในต่าง ๆ ที่มีการผ่าตัดเพื่อที่จะเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของการทำงาน หรือตามที่เราเห็นในภาพยนตร์ทั่วไปว่ามนุษย์ในอนาคตสามารถที่จะใช้อวัยวะที่ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุทดแทนแล้วเอามาใส่ภายในร่างกายเพื่อทำให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างปกติและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มประสบการณ์ทั้งเชิงกายภาพและการรับรู้ให้ดียิ่งขึ้น เช่น อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเหมืองแร่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่พนักงาน หรือการใช้อุปกรณ์ที่ดึงเอาประโยชน์จากข้อมูลและแอปพลิเคชันเพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้การคิดและความสามารถในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น รอยสักที่ทำหน้าที่เหมือนชิปประจำตัว ถุงมือที่ช่วยในการเคลื่อนไหวนิ้วมือและแขนของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้สามารถหยิบจับสิ่งของได้เหมือนปกติ

11367 1

ภาพชุดอวกาศก็เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าเป็น Human Augmentation 
ที่มา https://www.pexels.com/th-th/photo/kosmonaut-39644/

           ลองคิดตามดูว่า หากนักวิทยาศาสตร์สามารถเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลให้กับสมองของเราหรือฝังชิปเข้าไปเพื่อถอดรหัสบางอย่าง หรือมีชุดอุปกรณ์ที่จะทำให้แรงงานในโรงงานสามารถยกของหนัก ๆ ได้เหนือมนุษย์ หรือถ้าแพทย์สามารถฝังเซนเซอร์ที่สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของยาภายในร่างกายได้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อโลกและเศรษฐกิจเพียงใด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ Human Augmentation เป็นหนึ่งใน 10 ของเทรนด์กลยุทธ์ทางเทคโนโลยีที่จะผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วง 5-10 ปีต่อจากนี้ โดยเทรนด์ดังกล่าวจะถูกขับเคลื่อนไปพร้อมกับไอเดีย “people-centric smart spaces” ซึ่งหมายถึงว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะสร้างผลกระทบอะไรกับมนุษย์

           Brian Burke (Gartner Research VP) กล่าวที่งาน Gartner 2019 IT Symposium/Xpo™ in Orlando, Florida ว่า “เทรนด์เหล่านี้จะสร้างผลกระทบอย่างมากต่อผู้คนและพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ แทนที่จะสร้างเทคโนโลยีและดูว่าจะสร้างแอปพลิเคชันต่อจากนั้นยังไง องค์กรควรต้องคำนึงถึงบริบทของธุรกิจและมนุษย์ก่อน” เทรนด์เหล่านี้จึงไม่ได้เกิดขึ้นแบบลำพัง แต่เหล่าผู้นำทางด้าน IT จะต้องตัดสินใจว่าจะใช้การผสมผสานของเทรนด์อันไหนเพื่อสร้างนวัตกรรมและกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Artificial Intelligence (AI) ในรูปแบบของ Machine Learning (ML) ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Hyperautomation และ Edge computing สามารถเอามาใช้แบบเกื้อหนุนกันเพื่อสร้างสิ่งก่อสร้างและพื้นที่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีแสนฉลาดได้ ต่อจากนั้นเมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ร่วมกันก็สามารถทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นเท่าเทียมกันมากขึ้นด้วย (Democratization of the technology)

แหล่งที่มา

ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2563,12 มกราคม). เทรนด์เทคโนโลยีมาแรง ปี 2563.  สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.thairath.co.th/news/tech/1745141?fbclid=IwAR2FH5JWu3YHBACmSzA3aAKSz05Psd2fziANI5vi9iAhUp_8O8rm4PQOyWY

เทคโนโลยี. (2563,18 มกราคม). Human Augmentation เทคโนโลยีล้ำหน้าไม่รู้จักเป็นไปไม่ได้.  สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563. จาก nccr-nano.org/human-augmentation-เทคโนโลยีล้ำหน้าไม่ร/?fbclid=IwAR1kC2zWRfVvgz6l1DA0CgpqaIkzmgVp7QjpOsfg1L0b6Iz9xs2kVRAhfNo

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Human Augmentation, Human, Augmentation, ขีดความสามารถของมนุษย์,เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงทางด้านการรับรู้และกายภาพ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 10 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวอชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11367 Human Augmentation ปรับขีดความสามารถของมนุษย์ /article-technology/item/11367-human-augmentation
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ทำไมต้องไฮโดรจิเนชัน?
ทำไมต้องไฮโดรจิเนชัน?
Hits ฮิต (13664)
ให้คะแนน
ไฮโดรจีเนชัน (Hydrogenation) หรือ การยับยั้งการสลายตัวโดยการเพิ่มไฮโดรเจนให้กับโมเลกุล เป็นปฏิกิริย ...
มาตรฐาน EURO 3 4 5 ใช้ทั้งโลก แต่น้อยคนที่จะรู้จัก
มาตรฐาน EURO 3 4 5 ใช้ทั้งโลก แต่น้อยคนท...
Hits ฮิต (23107)
ให้คะแนน
มลภาวะทางอากาศคือสิ่งที่โลกยุคศตวรรษที่ 20 ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นปัญหาที่ไม่ใช่แค่ระดับ ...
การทำงานของหอกลั่นน้ำมัน
การทำงานของหอกลั่นน้ำมัน
Hits ฮิต (10177)
ให้คะแนน
เราทุกคนรู้ว่าน้ำมันที่ขุดเจาะมาจากธรรมชาตินั้นเรียกว่าน้ำมันดิบ (Crude Oil) โดยน้ำมันดิบนั้นมีส่วน ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)