logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทเรียน
  • เคมี
  • สารละลายกรด เบส

สารละลายกรด เบส

โดย :
อนุสิษฐ์ เกื้อกูล
เมื่อ :
วันพุธ, 11 พฤศจิกายน 2563
Hits
7226
  • 1. Introduction
  • 2. สมบัติของสารละลายเบส
  • 3. การนำสารละลายกรด เบส ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
  • - All pages -

          ในแต่ละวันถ้าเรารับประทานผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล หรือน้ำผลไม้ แสดงว่าเรารับประทานกรดเข้าสู่ร่างกายแล้ว และขณะเดียวกันหากเราล้างห้องน้ำด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำก็แสดงว่าเราใช้กรดในการทำความสะอาดเช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์หลายอย่างมีกรดเป็นส่วนประกอบ กรด คืออะไร มีสมบัติอย่างไร และเกิดปฏิกิริยาอย่างไรจะได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้

10557 1

ภาพที่ 1 acid
ที่มา จาก https://pixabay.com/th/ , Clker-Free-Vector-Images

          สมบัติของกรด

          กรด คืออะไร เราจะทราบได้จากการทดสอบหรือการทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งกรดเป็นสารประกอบที่มีสมบัติเฉพาะตัว คือ กรดเป็นสารที่มีรสเปรี้ยว ทำปฏิกิริยากับหินปูนหรือคาร์บอเนต สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง

          กรด แบ่งได้ 2 ประเภทคือ กรดอินทรีย์ กรดอนินทรีย์

         *กรด มี 2 ชื่อคือ กรดไฮโดร กับกรดออกซี่

          Hydro = HCl* HBr HI HF HCN ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง “ไฮโดร” นำหน้าแล้วตามด้วยสารที่ตามมา

         *HCl = ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ หรือ กรดเกลือ

          Oxy = HNO3 H2SO4 HClO3 H2CO3 * ฯลฯ กรดเหล่านี้ออกเสียง “อิก” ลงท้ายเสมอ * H2CO3 ไม่เสถียรจะแตกตัวให้ H2O, CO2

          รสเปรี้ยว ถ้าเราเคยชิมวิตามินซี รสเปรี้ยวของกรดก็เป็นเช่นนั้น โดยวิตามีนซีมีองค์ประกอบหลักคือ  กรดแอสคอร์บิก ส่วนผลไม้ตะกูลส้ม เช่น มะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ก็มีความเป็นกรดเช่นเดียวกัน โดยมีกรดที่ชื่อว่ากรดซิตริก (Critic acid) ผสมอยู่ ในผลไม้อื่นๆ เช่น มะเขือเทศ  เชอร์รี่ และแอปเปิลก็เป็นกรด น้ำส้มสายชูที่ใช้ปรุงอาหารก็ประกอบด้วยสารละลายกรดอะซิติกในน้ำ น้ำชาก็เช่นเดียวกันแม้กระทั่งนมบูด แต่การตรวจสอบความเป็นกรดของสารคงไม่ใช่การชิมเพื่อทดสอบรสชาติ แม้ว่าสารที่เป็นกรดมักมีรสเปรี้ยวแต่ก็ไม่ได้หมายความสารที่ไม่ได้มีรสเปรี้ยวไม่แสดงสมบัติความเป็นกรด

          ปฏิกิริยากับโลหะ เมื่อเรานำโลหะมาทำปฏิกิริยากับกรดจะเกิดฟองแก๊สเกิดขึ้นซึ่งฟองที่เกิดขึ้นคือแก๊สไฮโดรเจน มีโลหะบางชนิดเท่านั้นที่ทำปฏิกิริยากับกรดได้ เช่น แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก เป็นต้น ขณะที่เกิดปฏิกิริยาขึ้นโลหะก็จะละลายไปในสารละลาย การสังเกตนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่จัดกรดว่าเป็นสารกัดกร่อน (Corrosive) ซึ่งหมายถึงกรดสามารถ “กัด” วัสดุอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างปฏิกิริยาเป็นดังนี้

          Mg(s) + HCl(aq)  ---------->      MgCl2(aq) +  H2(g)

          ปฏิกิริยากับคาร์บอเนต กรดทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนตในลักษณะเฉพาะตัว คาร์บอเนตไอออนประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนและอะตอมออกซิเจนเชื่อมต่อกัน และมีประจุเป็นลบ เมื่อกรดทำปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนตจะเกิดแก๊สเกิดขึ้น

          นักธรณีวิทยาใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับสารประกอบคาร์บอเนตเพื่อระบุว่าหินชนิดใดเป็นหินปูน หินปูนเป็นหินที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต(CaCO3) เป็นองค์ประกอบ เมื่อหยดสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ที่เจือจางลงบนหินปูน จะเกิดฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ขึ้นพิจารณาดังสมการแสดงดังปฏิกิริยา

          2HCl(aq) + CaCO3(s)  ---------->        CaCl2(aq) + CO2(g) + H2O(g)

           ปฏิกิริยานี้ใช้ระบุว่าหินชนิดใดเป็นหินปูน แนวประการรังเป็นรูปแบบหนึ่งของหินปูนที่พบในทะเล แนวโครงสร้างที่ใหญ่โตของปะการังเกิดจากการสร้างแคลเซียมคาร์บอเนตห่อหุ้มของสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ชอล์ก็เป็น หินปูนอีกชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากส่วนที่แข็งของสัตว์ทะเลขนาดจิ๋วที่ผ่านการทับถมเป็นชั้นหนาขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าชั้นเหล่านี้ก็จะอัดแน่นจนแข็งตัวกลายเป็นชอล์ก

          ปฏิกิริยากับอินดิเคเตอร์ ถ้าเราทำกิจกรรมใช้กระดาษลิตมัสทดสอบสารบางชนิด กระดาษลิตมัสเป็นตัวอย่างหนึ่งของตัวตรวจสอบกรด - เบส ซึ่งอินดิเคเตอร์ก็คือสารประกอบที่มีสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ จะเปลี่ยนสีเมื่อสัมผัสกับสารละลายกรด - เบส  เช่น น้ำส้มสายชูและน้ำมะนาวจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเป็นแดง

          >>>>  สมบัติของอินดิเคเตอร์  >>>>>>

          1. อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดมีช่วง pH ของการเปลี่ยนสีจำกัด

          2. อินดิเคเตอร์โดยทั่วไปจะมีสารที่ให้สีแตกต่างกัน

          3. สีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนไปเมื่อค่า pH เปลี่ยนแปลง

          เนื่องจากอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดเปลี่ยนสีในช่วง pH จำกัดทำให้การตรวจหาค่า pH ของสารละลายไม่สะดวก จึงได้มีการนำอินดิเคเตอร์หลายชนิดที่มีช่วง pH ต่อเนื่องมาผสมกันในอัตราส่วนพอเหมาะ โดยสามารถเปลี่ยนสีในช่วง pH ของสารละลายได้กว้าง เรียกว่า ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ (Universal indicator)

            ตัวอย่างการเปลี่ยนสีของเมทิลเรด ซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีสมบัติเป็นกรดอ่อนเมื่ออยู่ในรูปโมเลกุล (HIn) ซึ่งเป็นรูปกรด (acid form) จะมีสีแดง และเมื่ออยู่ในรูปไอออน (In–) ซึ่งอยู่ในรูปเบส (base form) หรือเป็นคู่เบสจะมีสีเหลือง เมื่ออยู่ในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลายจึงมีภาวะสมดุล

          ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ คือ อินดิเคเตอร์ที่เกิดจากการนำอินดิเคเตอร์หลาย ๆ ชนิด ซึ่งเปลี่ยนสีในช่วง pH ต่าง ๆ กันมาผสมกัน อินดิเคเตอร์นี้สามารถเปลี่ยนสีได้ในสารละลายที่มี pH ต่างกันเกือบทุกค่า  มีในรูปแบบกระดาษ เรียกว่ากระดาษ pH และนอกจากนั้นยังมีในรูปเป็นสารละลาย ดังนั้นจึงนิยมใช้  ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์หาค่า pH โดยการประมาณของสารละลายต่าง ๆ ได้โดยเติมอินดิเคเตอร์ชนิดนี้ลงในสารละลายที่ต้องการหาค่า pH แล้วเทียบสีที่ปรากฏกับแถบสีข้าง ๆ กล่อง จะทำให้ทราบค่า pH ของ สารนั้น ๆ ได้  ตัวอย่างยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ แสดงดังภาพ

10557 2 2

ภาพที่ 2 แสดงยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์
ที่มา: http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/chemistry5_2/lesson4/lesson4_2.php           

10557 3

ภาพตารางแสดงตัวอย่างอินดิเคเตอร์ธรรมชาติบางชนิด
ที่มา: http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/chemistry5_2/lesson4/lesson4_2.php

         จากตารางจะเห็นว่าช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดจะมีค่าแตกต่างกัน และสีที่เปลี่ยนก็จะแตกต่างกันไปตามชนิดของอินดิเคเตอร์ ช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์อธิบายได้ ดังนี้ เช่น

         เมทิลออเรนจ์ มีช่วง pH การเปลี่ยนสีอยู่ระหว่าง 3.2 - 4.4 โดยสีที่เปลี่ยน คือ แดง – เหลือง หมายความว่า

       - ถ้านำเมทิลออเรนจ์ไปทดสอบสารที่มี pH ต่ำกว่า 3.2   จะปรากฏสีแดง

       - ถ้านำเมทิลออเรนจ์ไปทดสอบสารที่มี pH มากกว่า 4.4  จะปรากฏสีเหลือง

        - ถ้านำเมทิลออเรนจ์ไปทดสอบสารที่มี pH อยู่ระหว่าง 3.2 – 4.4 จะปรากฏสีส้ม   

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2551).หนังสือเรียนเคมีพื้นฐานและเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

แฟรงค์ เดวิด วี. (2547). ชุดสำรวจโลกวิทยาศาสตร์ ปฏิกิริยาเคมี. กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชัน อินโดไชน่า.

 


Return to contents

 สมบัติของเบส

           เบสเป็นกลุ่มของสารประกอบที่สามารถบ่งบอกได้ตามสมบัติที่ร่วมกันคือ เบสเป็นสารที่มีรสขม มีความลื่น และเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นสีน้ำเงิน หรือกล่าวได้ว่า เบสเป็นสารที่มีสมบัติ “ตรงข้าม” กับกรด

           รสขม ความขมอ่อนๆ ของน้ำโทนิคเกิดจากสารที่มีชื่อว่าควินิน (quinine) ซึ่งเป็นเบสชนิดหนึ่ง เบสเป็นสารที่มีรสขม ดังนั้น สบู่  แชมพู  และน้ำยาทำความสะอาดล้วนมีรสขมทั้งนั้น  แต่เราก็ไม่ควรทดสอบด้วยการชิมรสชาติของสาร แม้ว่าสารบางอย่างเราสามารถกินได้ก็ตาม

           ความลื่น นักเรียนล้างมือโดยใช้สบู่ถูมือ ความลื่นที่นักเรียนรู้สึกเป็นลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญของสารที่เป็นเบส การทดสอบสารที่สงสัยด้วยการสัมผัสเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำเหมือนดั่งที่นักเรียนไม่ควรทดสอบสารด้วยการชิม เพราะเบสแก่จะระเคยเคืองต่อผิวหรือแม้กระทั่งทำให้ผิวหนังไหม้ได้ ยังมีวิธีศึกษาสมบัติอื่นในการทดสอบเบสที่ปลอดภัยก่อน

เบสทำปฏิกิริยากับกรดจะได้เกลือและน้ำ  ตัวอย่างเช่น  สารละลายโซดาไฟ  (โซเดียมไฮดรอกไซด์)  ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (กรดไฮโดรคอริก) จะได้เกลือโซเดียมคลอไรด์  นอกจากนี้สารละลายโซดาไฟสามารถทำปฏิกิริยากับกรดไขมันได้เกลือโซเดียมของกรดไขมัน  หรือที่เราเรียกว่า  สบู่ (Soap)

           ปฏิกิริยากับอินดิเคเตอร์ เมื่อกระดาษลิตมัสสามารถทดสอบความเป็นกรดได้ ก็น่าจะใช้ทดสอบเบสได้เช่นกัน เบสจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน  เบสสามารถทำปฏิกิริยากับอินดิเคเตอร์อื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับกรดแต่จากการใช้กระดาษลิตมัสจะให้ผลแน่นอนและปลอดภัย วิธีง่าย ๆ สำหรับจดจำการเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสของกรดหรือเบสคือจำว่า base ซึ่งเป็นการเรียกเบสในภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยตัวอักษร b ดังนั้นจะเปลี่ยนสีกระดาษเป็นสีน้ำเงินหรือ blue นั่นเอง

           ปฏิกิริยาของเบส ปฏิกิริยาของเบสแตกต่างจากรดคือ เบสไม่ทำปฏิกิริยากับโลหะหรือสารประกอบคาร์บอเนต ข้อมูลที่บอกว่าเบสไม่ทำปฏิกิริยากับสารประกอบสารบางประเภทนั้นไม่น่าจะมีประโยชน์  แต่การรู้ข้อมูลว่าสารประกอบชนิดหนึ่ง ๆ ไม่ทำปฏิกิริยากับอะไรบ้าง ก็ถือว่านักเรียนได้รู้สมบัติบางอย่างของสารชนิดนั้นแล้ว เช่น นักเรียนรู้ว่าสารนั้นไม่ใช่กรด สมบัติอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของเบสคือ เบสทำปฏิกิริยากับกรดได้

10557 4

ภาพ base
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com/th/ , PublicDomainPictures

           เบสในสารละลาย

          ไอออนในสารละลายเบส

          ในสารละลายเบสทุกชนิดจะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่คือ ไฮดรอกไซด์ไอออน ( OH-) ซึ่งทำให้เบสมีสมบัติเหมือนกัน และมีสมบัติต่างไปจากกรด ตัวอย่างเช่น เมื่อ NaOH ละลายน้ำจะแตกตัวได้ OH- ดังนี้

                     NaOH (s)  ---->  Na+(aq) + OH- (aq)

                     KOH (s)  ----> K+ (aq) + OH- (aq)

          แต่ไม่ใช่ว่าเบสทุกตัวจะมีไฮดรอกไซด์ไอออนอยู่ในโมเลกุล ตัวอย่างเช่น แก๊สแอมโมเนีย (NH3) ไม่มีไฮดรอกไซด์เป็นองค์ประกอบ แต่เมื่ออยู่ในสารละลายแอมโมเนียจะทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วเกิดไฮดรอกไซด์ไอออนขึ้น

                     NH3 (g) + H2O (l) ----> NH4+ (aq) + OH-(aq)

          ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า ปฏิกิริยาทั้งสองมีทั้งไอออนบวกและไฮดรอกไซด์ไอออนซึ่งเป็นไอออนลบ ตัวอย่างนี้จะทำให้สามารถให้คำจำกัดความหรือนิยามของสารละลายเบสอีกแบบหนึ่งได้ว่า เบสคือสารที่สามารถแตกตัวได้ไฮดรอกไซด์ไอออนเมื่ออยู่ในน้ำ ไฮดรอกไซด์ไอออนนี้เองทำให้เกิดรสขมและความรู้สึกลื่นของเบส และไฮดรอกไซด์ก็เป็นสิ่งที่ทำให้กระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน

          ความแรงของเบส 
          การเปรียบเทียบความแรงของกรดและเบส อาจจะพิจารณาได้ดังนี้
         1. ดูจากการแตกตัวของเบส
         กรดที่มีการแตกตัวมาก มีความเป็นกรดมาก กรดและเบสที่แตกตัวได้ 100% จะเรียกว่ากรดแก่ และเบสแก่ ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำไฟฟ้าได้ดี แต่ถ้ากรดและเบสนั้นแตกตัวได้เพียงบางส่วนก็จะเรียกว่า กรดอ่อน หรือเบสอ่อน ตามลำดับ ซึ่งการนำไฟฟ้าจะไม่ดี  สำหรับการพิจารณาค่าการแตกตัวของกรดและเบสนั้น นอกจากจะคิดจากเปอร์เซ็นต์การแตกตัว หรืออาจจะดูได้จากค่าคงที่สมดุลของการแตกตัวของกรดหรือเบส (Ka หรือ Kb) เช่น  ความแรงของเบส พิจารณาจากค่า Kb กล่าวคือ ถ้ามีค่า Kb มาก มีความเป็นเบสมากกว่า Kb น้อย เช่น
                    NH3   Kb = 1.76 x 10-5
                    N2H4   Kb = 9.5 x 10-7 
                   C 6H5NH2    Kb = 4.3 x 10 -10
                   ความเป็นเบส NH3> N2H4 > C6H5NH2
         2. ดูจากความสามารถในการให้และรับโปรตอน
            เบสแก่ ได้แก่ เบสที่รับโปรตอนได้มาก
            เบสอ่อน ได้แก่ เบสที่รับโปรตอนได้น้อย
            โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับคู่กรด- เบส ดังนี้

          การแตกตัวของเบสแก่

          เบสแก่  หมายถึงเบสที่เมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ 100 %

          ตัวอย่างเบสแก่ ได้แก่  

10557 6   

          สารประกอบไฮดรอกไซด์ของธาตุหมู่ 1  ซึ่งมีสูตรทั่วไป XOH  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไอออนบวกและไฮดรอกไซด์ไอออน โดยโมลหรือความเข้มข้นของไอออนบวก ไฮดรอกไซด์ไอออนและเบสจะเท่ากัน ดังสมการ


                             XOH(aq)     ——>    X+(aq)     +   OH–(aq)

           ตัวอย่าง      NaOH(aq)    ——>   Na+(aq)   +   OH–(aq)

                             KOH(aq)     ——>    K+(aq)     +   OH–(aq)

                             2 mol                     2 mol            2 mol

                             0.5 mol/dm3             0.5 mol/dm3   0.5 mol/dm3

สรุป สำหรับเบสแก่  XOH 

                             [OH–]  =   [XOH–] 

สารประกอบไฮดรอกไซด์ของธาตุหมู่ 2  ซึ่งมีสูตรทั่วไป Y(OH)2  เมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ไอออนบวกและไฮดรอกไซด์ไอออน โดยโมลหรือความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ไอออนจะเป็นสองเท่าของโมลหรือความเข้มข้นของไอออนบวกและเบส  ดังสมการ

                             Y(OH)2(aq)     ——>    Y2+(aq)           +       2OH–(aq)

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2551).หนังสือเรียนเคมีพื้นฐานและเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

แฟรงค์ เดวิด วี. (2547). ชุดสำรวจโลกวิทยาศาสตร์ ปฏิกิริยาเคมี. กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชัน อินโดไชน่า.

 


Return to contents

          ในชีวิตประจำวันเราจะพบกับสารต่าง ๆ ซึ่งบางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิดมีสมบัติเป็นเบส โดยสารละลายกรด - เบส มีทั้งประโยชน์และโทษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเราควรจะเลือกใช้สารต่าง ๆ อย่างระมัดระวังและเหมาะสม

          กรดในชีวิตประจำวัน
          กรดมีบทบาทสำคัญต่อปฏิกิริยาเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีการใช้กรดในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆมากมายที่ใช้ในบ้านในการเกษตรและอุตสาหกรรม
          กรดที่พบในอาหาร วิตามินหลายชนิดพบในอาหารที่เรารับประทานเป็นประจำ เช่น ส้มและมะเขือเทศมีกรดแอสคอร์บิกหรือวิตามินซี ในผักใบเขียวจะมีกรดโฟลิกซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของเซลล์
น้ำอัดลม ประกอบด้วยกรดคาร์บอนิก น้ำส้มและน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวประกอบด้วยกรดซิตริกซึ่งมีอยู่ในส้ม มะนาว ส้มโอ กรดแอซีติก ซึ่งมีในน้ำส้มสายชู ใช้ในการปรุงแต่งรสอาหาร
          กรดที่พบในร่างกาย กรดเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ กรดในกระเพาะช่วยในการย่อยโปรตีน ในระหว่างการออกกำลังกายจะเกิดการสะสมกรดแลกติกขึ้นในกล้ามเนื้อที่ทำงานหนัก

10557 5

ภาพประกอบบทเรียน กรด เบส ในชีวิตประจำวัน
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com/th/ , Viscious-Speed

     กรดที่พบในบ้าน เราจะใช้สารละลายกรดไฮโดรคลอริกเจือจางสำหรับทำความสะอาดผิว ผนังหรือพื้นอิฐ โลหะ ซึ่งหาได้จากร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างในชื่อของกรดมิวเรียติก (muriatic) กรดในโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรและผู้ผลิตในอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากกรดมากมาย มีการนำกรดซัลฟิวริกไปใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ ใช้ในขั้นตอนขจัดสารปนเปื้อนในน้ำมันปิโตรเลียมและใช้ในกระบวนการผลิตเหล็กกล้า กรดไนตริกและกรดฟอสฟอริกใช้ทำเป็นปุ๋ยสำหรับการเพาะปลูกทั้งในบ้านและไร่นา

         เบสในชีวิตประจำวัน
         สารละลายเบสที่เราใช้ในชีวิตประจำวันมีมากมายหลายชนิด เช่น
         - โซเดียมไบคาร์บอเนต ในปากของเรามีแบคทีเรียอาศัยอยู่แบคทีเรียเหล่านี้ใช้น้ำตาลเป็นอาหารโดยสลายน้ำตาลไปเป็นกรดที่เรียกว่า Plaque acid ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคฟันผุ ดังนั้นในยาสีฟันจึงผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือเบสที่ช่วยลดความเป็นกรด
        - แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ ถ้าในกระเพาะอาหารมีกรดมากเกินไปทำให้อาหารไม่ย่อยและส่งผลให้เกิดอาการจุกเสียดหรือแน่นท้อง การรับประทานยาที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ หรือ Milk of magnesium จะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้ เพราะมีฤทธิ์เป็นเบสอ่อน ๆ
        - น้ำแอมโมเนียหรือแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ ใช้ทำน้ำยาทำความสะอาดกระจก เป็นต้น
        - ผงฟูหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ใช้ทำขนมต่าง ๆ
        - สบู่ ใช้ทำความสะอาดร่างกาย มีหลายชนิดทั้งที่เป็นก้อนแข็ง เป็นของเหลว และเป็นครีม
        - ยาสระผม ใช้ทำความสะอาดเส้นผม
        - ผงซักฟอก ใช้ทำความสะอาดเสื้อผ้า
          ผลกระทบของสารละลายกรด เบสในชีวิตประจำวัน
          ฝนกรด (acid rain) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย
          ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide: SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide: NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ (water: H2O) และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (sulfuric acid: H2SO4) กรดไนตริก (nitric acid: HNO3) และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลายร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง

          การเกิดฝนกรด

          กระบวนการที่ก่อให้เกิดฝนกรดนั้น เริ่มต้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่าง ๆ การเผาไหม้คือปฏิกิริยาเคมีที่ออกซิเจน (oxygen: O2) ในอากาศรวมตัวกับคาร์บอน (carbon: C)  ไนโตรเจน (nitrogen: N)  ซัลเฟอร์ (sulfur: S) และสารอื่น ๆ ที่ประกอบอยู่ในสารที่เกิดการเผาไหม้ โดยผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นก๊าซนั้นเราเรียกว่าก๊าซออกไซด์ โดยเมื่อใดก็ตามสิ่งที่ถูกเผาไหม้นั้น มีไนโตรเจนหรือซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบด้วยแล้ว ก็จะเป็นผลทำให้สารออกไซด์เหล่านี้ก่อกำเนิดขึ้นมาได้ ในประเทศอเมริกา 70% ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดมาจากโรงงานไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ในแคนาดา อุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น การกลั่นน้ำมัน การหลอมโลหะ ก่อสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศสูงถึง 61% ส่วนไนโตรเจนออกไซด์นั้น เกิดได้จากมากมายหลายแหล่ง เนื่องจากสารอินทรีย์หลาย ๆ ชนิดมักจะมีไนโตรเจนประกอบอยู่ โดยควันพิษจากรถยนต์นั้นกินส่วนแบ่งเยอะที่สุด อย่างไรก็ตามแหล่งการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ที่สำคัญอีกแหล่งก็คือ การเผาศพเมื่อก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์เข้าสู่บรรยากาศแล้ว จะทำปฏิกิริยากับไอน้ำและสารเคมีอื่น ๆ ในบรรยากาศ ก่อให้เกิดกรดซัลฟูริก กรดไนตริกและสารผลพิษอื่น ๆ ประเภทไนเตรดและซัลเฟต โดยสารเหล่านี้อาจละลายตัวลงไปในฝน แล้วตกลงมาพร้อมกัน

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2551).หนังสือเรียนเคมีพื้นฐานและเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 เล่ม 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

แฟรงค์ เดวิด วี. (2547). ชุดสำรวจโลกวิทยาศาสตร์ ปฏิกิริยาเคมี. กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชัน อินโดไชน่า.

 


Return to contents
Previous Page 1 / 3 Next Page
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กรด, สารละลายกรด, รสเปรี้ยว, ไฮโดรเจนไอออน, สมบัติของกรด, อินดิเคเตอร์, ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์, pH,เบส, สารละลายเบส, สมบัติของเบส, รสขม, ความลื่น, อินดิเคเตอร์, ความแรงของเบส, เบสแก่,กรด, เบส, สารละลายกรด, สารละลายเบส, ประโยชน์ของกรดเบส, กรดในชีวิตประจำวัน, เบสในชีวิตประจำวัน, ผลกระทบของสารละลายกรดเบส, ฝนกรด
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 20 สิงหาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายอนุสิษฐ์ เกื้อกูล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10557 สารละลายกรด เบส /lesson-chemistry/item/10557-2019-08-28-02-17-52
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • วีดิทัศน์ : ปริมาตรของอากาศในการหายใจออกของมนุษย์...
  • วีดิทัศน์ : การจำลองการทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม...
  • วีดิทัศน์ : การกินอาหารของพารามีเซียม...
  • วีดิทัศน์: การคัดเลือกโดยธรรมชาติ...
  • วีดิทัศน์ : ความน่าจะเป็นกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ตอนที่ 2 การผสมลองลักษณะ...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)