logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • อื่น ๆ
  • รู้ไว้ ทำความเข้าใจให้ดี PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป)

รู้ไว้ ทำความเข้าใจให้ดี PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป)

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันศุกร์, 01 ธันวาคม 2560
Hits
25410

           ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HIV ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ต่างก็ให้ความสำคัญและมีการหาแนวทางป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

 7738 1ภาพที่ 1 PrEP และ PEP
ที่มา https://thevillagepharmacy.ca

           จากแนวโน้มที่มีแต่จะมากขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่  ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าในอนาคตการติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน การป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อและติดเชื้อจึงเป็นวิธีการลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่ดีที่สุด

           ปัจจุบันในประเทศไทย มีการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV โดยหลังจากที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศสมาชิกจ่ายยาต้านไวรัสให้กับกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการติดเชื้อรายใหม่  โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชายและสาวประเภทสอง

           การใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ในประเทศไทย มีแนวทางดังนี้ 

PrEP 

            PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) อ่านว่า  เพร็ป   เป็นยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง หรือมีคู่สัมพันธ์ที่มีเชื้อ HIV

            เพร็ป เป็นการให้ยา 2 ตัว ร่วมกันก่อนการสัมผัสเชื้อ คือ ยาทีโนโฟเวียร์ (TDF) ให้ร่วมกับเอมทริซิตาบีน (FTC) สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 92  ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการทานยา โดยมีข้อกำหนดการใช้ยาคือ ทานทุกวัน โดยยาที่แนะนำให้ใช้ในปัจจุบันคือ Tenofovir 300 มิลลกรัม Emtricitabine 200 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง   ทั้งนี้มีข้อสำคัญว่า ผู้ใช้ยาจะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีเชื้อ HIV มาก่อนเท่านั้น ดังนั้น ก่อนการใช้ยาจะต้องเข้ารับการตรวจเชื้อ HIV ในขั้นตอนแรกของการรับบริการก่อน นอกจากนี้ยังต้องตรวจสภาพร่างกายและการทำงานของตับและไต ว่าปรกติหรือไม่ เพราะมีผลข้างเคียงต่อตับและไตอยู่บ้างเหมือนกัน สำหรับการใช้ยาตัวนี้

          ทั้งนี้จำเป็นต้องเรียนรู้และป้องกันการติดเชื่อร่วมไปกับวิธีอื่น ๆ ไปด้วย เช่น  การใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ การตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ แนะนำว่าทุก ๆ 3 เดือน  และการลดจำนวนคู่นอน เป็นต้น

PEP

         PEP (Post -Exposure Prophylaxis) อ่านว่า  เป๊ป    เป็นยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่พึ่งไปสัมผัสหรือรับเชื้อ HIV มา เราอาจเรียกได้ว่า ยาเป๊ปเป็นยาฉุกเฉิน โดยจำเป็นต้องกินยาให้เร็วที่สุดภายหลังการสัมผัสเชื้อ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง จากภาวะเสี่ยงต่าง ๆ อาทิมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

         PEP ประกอบด้วยยาต้านไวรัสประมาณ 3ชนิด ที่ทำงานโดยช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมในเชื้อ และยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ การรับประทานยาชนิดนี้ จำเป็นต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน และต้องทานยาต้านไวรัสเหมือนกับผู้ติดเชื้อ HIV ประกอบกันไปอีก 2-3 ชนิด ทั้งนี้อาจมีผลข้างเคียงโดยเกิดอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน โดยจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลและควบคุมโดยแพทย์

         สรุปก็คือ PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป) มีข้อจำแนกอย่างชัดเจนดังนี้

  1. PrEP คือยาป้องกันก่อนการเสี่ยงในการได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV
  2. PEP  คือยาฉุกเฉินที่ต้องทานหลังการเสี่ยงการได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV ภายในเวลา 72 ชั่วโมง

       การป้องกันการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยการใช้ PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป) อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ได้จริง ดังจะเห็นได้จาก แนวทางการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ HIV ของสถาบันที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่การลดการระบาดของโรคเอดส์ได้อย่างได้ผลในอนาคตนั่นเอง

แหล่งที่มา

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกัน (ยาเพร็พ-ยาเป๊ป).  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก
         http://adamslove.org/d.php?id=72

PEP (เป๊ป).  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก
         http://www.lovefoundation.or.th/th/pep-post-exposure-prophylaxis#prep

วันทนีย์ โลหะประกิตกุล (2559, 2  สิงหาคม).   “เพร็พ” และ “เป็ป” ก็ต้านเอดส์เหมือนกัน.  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก
         http://haamor.com/th/เพร็พและเป็ปก็ต้านเอดส์เหมือนกัน-2

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
PrEP (เพร็ป) , PEP (เป๊ป)
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 01 ธันวาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7738 รู้ไว้ ทำความเข้าใจให้ดี PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป) /other-article/item/7738-pep-prep
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สธ. เผย 5 โรควิถีชีวิต คุกคามคนไทยรุนแรงขึ้น
สธ. เผย 5 โรควิถีชีวิต คุกคามคนไทยรุนแรง...
Hits ฮิต (15120)
ให้คะแนน
ตายปีละเกือบแสนราย ป่วยเข้านอน รพ. เพิ่มเกือบ 2 เท่าในรอบ 5 ปี ระดมพลัง อสม. 1 ล้านคน คัดกรองเบาหวา ...
รักและฟิสิกส์ของ Albert กับ Mileva (1)
รักและฟิสิกส์ของ Albert กับ Mileva (1)
Hits ฮิต (15731)
ให้คะแนน
รักและฟิสิกส์ของ Albert กับ Mileva (1) ใน สายตาคนทั่วไป นักวิทยาศาสตร์เป็นบุคคลที่ทำงานอย่างไร้อารม ...
อะฟลาท็อกซิน สารพิษจากถั่วลิสง
อะฟลาท็อกซิน สารพิษจากถั่วลิสง
Hits ฮิต (16514)
ให้คะแนน
"อะฟลาท็อกซิน" สารพิษจากถั่วลิสง อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) เป็นสารพิษอันเกิดจากเชื้อรา คำว่า aflatox ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)